หนังสือเล่มนี้สอนอะไร
เล่มนี้สอนเรื่องแรกก็คือ ทู่ซี้ ดึงดัน ดื้อดึง และกัดไม่ปล่อย นี่คือธีมหลักของหนังสือของผู้ที่เป็นคนก่อตั้งสำนักพิมพ์แปลเลื่องชื่อ นั่นก็คือวีเลิร์น มีผู้คนมากมายที่เป็นนักอ่านแต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะกลายมาเป็นนักธุรกิจ โดยแปลหนังสือมามากกว่าระดับทศวรรษ แถมยังมีประสบการณ์มากมายนับไม่ถ้วน (ในหนังสือนับได้ 33 เรื่อง) ซึ่งในความเป็นจริง ปัญหาของคนที่จะขายของ ก็คือทำอย่างไรให้คนที่จะมาซื้อของเรา ซื้อของเราให้ได้แค่นั้นเลย แต่ความเป็นจริงความคิดที่ ‘อยากขาย’ ไม่เหมือนกับความคิดที่ ‘อยากซื้อ’ เพราะมันคนละขั้วมุมมองกัน ชอบคำหนึ่งที่ผู้เขียนมักจะใช้ นั่นคือคำว่า ‘เผางาน’ มันเปรียบเสมือนเวลาที่เราต้องรีบส่งงาน แต่เราไม่มีเวลา แล้วความแปรผันของเวลาที่เราจะต้องทำให้เสร็จมันไม่สัมพัทธ์กัน.
สอนเรื่องที่สองก็คือ การเงินเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้จิตวิญญาณของบริษัท ถ้าเกิดว่าเราเปรียบเทียบว่า เงินคืออาหาร จิตวิญญาณคือจาน มันย่อมเป็นสิ่งที่ขาดกันไปไม่ได้ ไม่มีใครกินอาหารโดยไม่มีจาน และก็คงไม่มีใครกินจานอย่างเดียวโดยปราศจากอาหารบนจานไป มันคือเชื้อเพลิงของบริษัทนั้น ๆ เช่น ถ้าเราอยากที่จะเปิดบริษัทใดบริษัทหนึ่ง โดยที่เราไม่รู้ว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีกำไรไหม หรือว่าจะขาดทุนมากน้อยเพียงใด เราก็ต้องรู้จักที่จะสำรองเงินเอาไว้บ้างไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นหลักประกันว่าบริษัทของเราจะอยู่รอดช่วงวิกฤตไปได้ กระนั้น เราจึงต้องตระหนักในเรื่องของการเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วควรจะเริ่มตั้งแต่การเงินส่วนบุคคลเลย ไม่จำเป็นจะต้องไประดับนิติบุคคลแล้วค่อยตระหนักถึงมัน.
และสอนเรื่องที่สามก็คือ มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะลอกเลียนกันแบบทั้งดุ้นได้ ปัญหาของคนส่วนใหญ่ก็คือ ‘การลอกเลียนแบบ’ แต่ชีวิตไม่ได้มาบอกกับเราว่า ให้เราลอกทั้งแบบนั้นไปเลย ทว่า ขอให้ลอกอย่างไรให้มี ‘ศิลปะ’ มันจึงเป็นทางออกของการลอกเลียน เมื่อเราอยู่ในวงการของสำนักพิมพ์ แล้วการทำหนังสือ แน่นอนหน้าปกก็ย่อมเป็นความประทับใจแรก และความประทับใจที่สองก็คือเนื้อหา หรือว่าไส้ในของหนังสือเล่มนั้น ๆ ว่ามันจะดึงสาระประโยชน์ พร้อมทั้งให้คุณค่าแก่ชีวิตคนอ่านได้อย่างไร นั่นจึงเรียกว่าความคุ้มค่าที่เราได้รับ จงอย่างลืมที่จะมอบคุณค่าแบบปัจเจกชนใส่เข้าไปยังผลงาน พร้อมกับทุกอิริยาบถ และทุกอณูของการใช้ชีวิต เพราะนั่นคือสิ่งที่เราทำได้ แล้วมันย่อมเป็นแบบฉบับของตัวเราเอง.
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร
ผู้ที่เป็นนักธุรกิจไฟแรงที่เป็นคนรุ่นใหม่ พร้อมกับมีความคิดแบบดิบ ๆ ห้วน ๆ ว่าจะต้องมีระยะเวลาที่ยาวนานมาก ๆ ในการทำธุรกิจ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย ก็เพียงเพราะความเป็นจริงกับความคาดหวังมักจะไม่สอดคล้องกันเท่าที่ควร นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า เราไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเวลาที่จะทดลอง และทดสอบเองทั้งหมด แต่เราสามารถที่จะเรียนรู้จากการตกผลึกของนักธุรกิจที่สามารถเข้าใจถึงแก่นว่า ความสำเร็จไม่ควรลิงโลด และความล้มเหลวก็ไม่ควรฟูมฟาย เพราะมันยังมีส่วนประกอบของ จังหวะเวลา โชคลาภ และสิ่งที่เรียกว่าความมุ่งมาดปรารถนา ที่ยังคงเป็นสิ่งที่สลักสำคัญ แล้วสิ่งนี้แหละมันจะส่งผลทำให้นักเรียนรู้ ตกผลึกในสายอาชีพนั้น ๆ ต่อไป.
ชื่อหนังสือ: วิชาคนตัวเล็ก (small rules)
ผู้เขียน: พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ
สำนักพิมพ์: วีเลิร์น (We Learn)