ความคิดเห็นต่อการบรรยาย
Dennett ประสบปัญหาบางอย่างเวลาที่เขาบอกว่าเขาทำอาชีพเป็นนักปรัชญา มันก็เป็นเรื่องคนที่เป็นนักปรัชญาน่าจะเป็นปัญหากัน ซึ่งนั่นทำให้เขาชอบที่จะทำอาชีพนี้ ในหลายสถานที่คนก็มักจะมองเขาด้วยสายตาประหลาดใจ แต่ขณะที่เขาไปเข้าร่วมกลุ่มกับนักปรัชญาด้วยกันพวกเขากลับไม่ประหลาดใจ แต่กลับขบปากด้วยฟันอยู่อย่างนั้น เพราะทุกคนเคลือบแคลงใจว่า “ใครจะสามารถเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับสติได้”.
เพื่อนของเขาที่ชื่อว่า Bob Nozick ซึ่งเป็นนักปรัชญาเหมือนกับเขา ได้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า Philosophical Explanations ได้วิจารณ์ถึงความน่าเชื่อถือ (Ethos) ในปรัชญาว่า “นักปรัชญาทุกคนรักที่จะถกเถียงปัญหากัน” และเขากล่าวต่ออีกว่า “มันดูเหมือนว่าถ้ามันเป็นการถกเถียงเรื่องอุดมคตินั่นคือการที่ให้คนที่คิดตามได้รู้หลักฐานเพื่อให้เขาเหล่านั้นอนุมานและไปหาข้อสรุปมา และถ้าพวกเขาไม่ยอมรับข้อสรุปนั้นมันทำให้พวกเขาตายได้เลย” แต่นั่นไม่ทำให้ผู้คนเชื่อจริง ๆ หรอกแถมความคิดก็จะไม่เปลี่ยนตามไปด้วย.
มันยากนะที่จะให้คนเปลี่ยนแปลงความคิดในระดับสติ เพราะทุกคนนั้นรู้ตัวเองว่าเป็นคนที่เก่งเรื่องการรู้จักตัวเองดีอยู่แล้ว ซึ่งการที่เราจะไปถามใครก็ได้ในโลกใบนี้ ทุกคนก็ย่อมจะบอกเป็นเสียงเดียวกันอยู่แล้วว่า ฉันรู้จักตัวเองดีที่สุด สติอยู่ในสมองมันก็ปกติที่เราจะรู้จักมันดี ในทางความคิดแล้วมันถือว่าน่าแปลกใจมากที่คุณเอาความกล้ามาจากไหนถึงบอกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง.
เขาได้นำรูปภาพหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นถึงความคิดอันมากมายในรูปนั้นมันคือรูปของ Saul Steinberg บนปกนิตยสาร The New Yorker แม้การตีความรูปภาพเดียวของ Braque ก็ยังมีผลต่อความคิดโยงใยอย่างมหาศาลได้ ด้วยความคิดที่โยงใยนั้นไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าเพราะอะไรถึงมีความคิดมากมายเพียงนี้ แต่การที่เรามองสิ่งใดสิ่งหนึ่งล้วนแตกต่างกันไปในแต่ละปัจเจกชนอยู่แล้ว เพราะความคิดมันประกอบเข้าด้วยเซลล์ประสาทหลายล้านเส้น.
เพื่อนเขาอีกคนหนึ่งชื่อว่า Lee Siegel ได้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า Net of Magic เพื่อนเขาคนนี้เป็นคนที่เชี่ยวชาญเรื่องเวทมนตร์ของอินเดีย และมันคือสิ่งที่เขาจะมาบอกต่อไปนี้คือคำในหนังสือที่เขียนไว้ว่า “ฉันได้เขียนหนังสือเล่มนี้บนเวทมนตร์ ฉันอธิบายและฉันถาม นี่คือเวทมนตร์จริง ๆ ใช่ไหม ก็โดยที่ทุกคนทั่วไปเห็นตรงกันว่าเวทมนตร์ที่แท้จริงคือการเสกสรรสิ่งต่าง ๆ และสามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมาได้จริง ๆ ฉันตอบได้เลยว่า ไม่จริงหรอกมันคือเวทมนตร์ที่เป็นกลวิธีมากกว่าที่จะเป็นเวทมนตร์อย่างแท้จริง คำว่าเวทมนตร์ที่แท้จริงในอีกความหมายก็คือเวทมนตร์นั้นไม่มีอยู่จริง ๆ ซึ่งในขณะที่เวทมนตร์นั้นมีจริงมันก็คงเสร็จสิ้นไปหมดแล้ว นั่นก็หมายถึงไม่ใช่เวทมนตร์ที่จริงนั่นเอง”.
หลายคนกล่าวไว้ว่า “สติคือกล่องเต็มไปด้วยกลวิธี” ทุกคนที่ไม่อยากรับรู้ไม่ใช่เพราะว่าอะไร แต่ก็เพราะว่าการที่จะมีคนมาบอกว่าสิ่งที่เราคิดมันผิดทั้งหมด แล้วจะมีใครเชื่อว่าสติที่อยู่กับเราแท้ ๆ จะมีความบิดเบือนหรือคลาดเคลื่อนไปได้ ซึ่งมันก็ไม่ได้ผิดปกติอะไรมากที่ทุกคนจะไม่อยากรับฟังเรื่องของสติ คุณสามารถที่จะไม่รับรู้การสัมมนาครั้งนี้ได้ ก็เพราะมันขัดแย้งกับความคิดของคุณ.
ต่อไปนี้นักปรัชญาจะอธิบายถึงกลวิธีที่เรียกว่า “กลวิธีหั่นผู้หญิงครึ่งท่อน” แล้วนักปรัชญาก็กล่าวว่า “เขาจะอธิบายว่ามันทำได้อย่างไร ก็เวทมนตร์ไม่สามารถหั่นผู้หญิงเป็นครึ่งท่อนได้ คนที่หั่นแสร้งเหมือนให้คุณคิดว่ามันคือเวทมนตร์เท่านั้นเอง” มันเหมือนกับว่าความคิดมันคิดไปได้เองโดยตัวของสติ โดยสติจะทำให้คุณเชื่อว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เห็นจริง ๆ.
ให้รับชมสิ่งนี้มันคือวิดีโอที่เป็นภาพทับซ้อนระหว่างลูกบาศก์สีสันกับผู้คนที่เหมือนอยู่ในห้องอะไรสักอย่าง แล้วคำถามคือ “มีใครบ้างที่เห็นสีสันมันเปลี่ยนไป” หลายคนก็บอกว่าสีสันนั้นเปลี่ยนไป แล้วมันก็เปลี่ยนไปจริง ๆ สิ่งนี้จะทำให้ทุกคนเห็นว่าเราจะโฟกัสกับอะไรมากกว่ากัน รวมถึงถ้าสีสันนั้นเปลี่ยนไปจริงทำไมเรากลับไม่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงนั้นได้.
รูปภาพต่อไปคือรูปของ Bernardo Bellotto ชื่อภาพคือ North Carolina Museum of Art เหตุผลที่เลือกรูปนี้ก็เพราะว่ารูปนี้มีรายละเอียดที่น่าทึ่งมาก เพราะยิ่งซูมเข้าไปในภาพจะเห็นว่าผู้คนในภาพไม่ใช่รูปวาดของคนจริง ๆ แต่เป็นการแต้มสีลงไปแค่นั้นก็เพราะสาเหตุคือยิ่งเรามองออกไปไกลมันก็ให้ความรู้สึกว่าเป็นคนยืนอยู่ตรงนั้น มันคือการที่สมองของเราเริ่มใช้การชี้แนะมากยิ่งขึ้น.
คำอธิบายของสิ่งเหล่านี้เพื่อให้กระจ่างมากที่สุดว่าทำไมสมองถึงชี้แนะมาก็เพราะ สมองจดจำรายละเอียดเอาไว้อยู่แล้วเป็นทุนเดิม ณ ขณะที่มองวัตถุเหล่านั้นจึงไม่ยากที่จะคิดว่ามันคือสิ่งที่ตัวเรานั้นคิดเอาไว้อยู่แล้วนั่นเอง สมองไม่ได้สร้างภาพจำขึ้นมามันแค่ทำหน้าที่เพียงคาดการณ์รายละเอียดแล้วใส่เข้าไปให้สมบูรณ์แค่นั้นเอง.
รูปภาพต่อไปคือรูปของลูกบาศก์คล้ายตัว F กลับหัวกลับหาง คำถามคือ “รูปซ้ายกับรูปขวามันเหมือนกันแต่แค่กลับหัวใช่หรือไม่” คำตอบก็คือ ‘ใช่’ เรื่องนี้ถกเถียงกันมามากกว่า 20 ปี ในประชานศาสตร์ รวมถึงหลาย ๆ การทดลองก็มาจากคนที่ชื่อว่า Roger Shepherd ซึ่งเป็นคนที่กำหนดค่าในรูปขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการหมุนภาพและมุมของภาพเพื่อจะดูภาวะจิตใจ คำตอบที่ทุกคนรู้ว่ารูปนี้หมุนไปมันคล้ายคลึงกับรูปแรกได้อย่างไร ก็ไม่สามารถตอบได้แน่ชัดเพราะมันคือความเชื่อที่คุณวัดค่าเอาโดยเรียงลำดับจากความคิด ณ เวลานั้น ๆ.
แล้วอะไรอธิบายถึงความจริงของความคิดคุณล่ะ รูปต่อไปก็คือรูปของ Bradley, Petrie, and Dumais ทุกคนคงเห็นรูปลูกบาศก์ในวงกลมทุกวง มันคือการที่ทำให้เรารู้สึกว่านี่คือภาพลวงตา เพียงแค่ลองใส่สีเข้าไปในรูปลูกศรก็จะทำให้รู้สึกว่ามันไม่เป็นรูปลูกบาศก์แล้ว นี่เรียกว่าการคาดการณ์ถึงอนาคตด้วยตัวของสติเอง ก็เพราะการเพิ่มสีขึ้นมาทำให้รู้สึกว่ามันน่าจะเป็นรูปร่างแบบนี้ และการลองเปลี่ยนสีดู ก็ทำให้มันดูไม่เป็นภาพที่เราคาดการณ์เอาไว้.
ทุกการทดลองมันแสดงให้เห็นถึงความคิดของเราที่มีต่อความคิดของเราเอง สตินั้นคือตัวกำหนดว่าจะให้ภาพอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง ถ้าเราไม่สามารถจัดการกับสติได้ มันก็จะสร้างภาพต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้เรารู้เท่าทันภาพที่วาดขึ้นมาเพื่อจะได้ตระหนักรู้ว่า ไม่มีอะไรที่จะเป็นภาพลวงตาไปมากกว่าสติของเราเอง.
ณ Harvard Medical School เขาได้เคยคุยกับผู้อำนวยการในแล็บว่า “ภายในแล็บเราจะพูดกันเสมอว่า ถ้าคุณทำงานบนหนึ่งเซลล์ประสาทนั่นเรียกประสาทวิทยา ถ้าคุณทำงานบนสองเซลล์ประสาทนั่นเรียกว่าจิตวิทยา”.
อย่าเชื่อทุกอย่างในสิ่งที่เห็น เพราะบางครั้งมันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปก็ได้
Dan Dennett