ความคิดเห็นต่อการบรรยาย
Duckworth เล่าถึงตอนที่เธออายุ 27 ปี เธอได้ลาออกจากงานที่ต้องใช้ความสามารถกับมันสูงมาก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาการจัดการ หลังจากงานนี้ที่เธอได้ลาออกมา เธอต้องทำมากกว่าการจัดการเพราะมันคือการสอนนั่นเอง แล้วเธอก็ได้เป็นครูสอนคณิตศาสตร์ระดับเกรด 7 ที่ New York City Public Schools หลังจากนั้นเธอก็สอนเหมือนอาจารย์ทั่วไป เช่น ให้นักเรียนทำแบบทดสอบและให้การบ้านนักเรียนตามปกติ.
เมื่อตอนที่เริ่มคำนวณเกรดให้กับนักเรียน เธอได้เปรียบเทียบระหว่างคนที่ได้คะแนนสูง กับคนที่ได้คะแนนต่ำ ผลปรากฏว่าคนที่ได้คะแนนสูงไม่ได้มีไอคิวที่สูงลิบลิ่ว บางคนที่เป็นเด็กฉลาดกลับไม่ได้ทำคะแนนออกมาดีเยี่ยมเลย มันเลยเป็นคำถามขึ้นมาว่า “มีอะไรที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เกรด 7 บ้าง” และแน่นอนว่ามันต้องเรียนรู้เยอะพอสมควร เช่น เศษส่วน ทศนิยมและพื้นที่ของสี่เหลี่ยมด้านขนานเป็นต้น ทว่า มันไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเรียนรู้ทั้งหมดนี้ กลับกันถ้าเด็ก ๆ สามารถตั้งใจเรียนรู้มากพอ พวกเขาก็สามารถเรียนรู้ทั้งหมดนี้ได้.
หลังจากนั้นหลายปีเธอก็ได้ข้อสรุปว่า “อะไรที่จำเป็นต่อการเรียนรู้เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ของนักเรียนให้มากขึ้น จากทัศนคติที่เป็นตัวผลักดัน หรือจากทัศนคติทางจิตวิทยา” ในการศึกษาสิ่งที่เรารู้กันก็คือไอคิวเป็นตัววัดที่ดีเยี่ยมที่สุด แต่ถ้าเรานำไอคิวไปใช้กับสิ่งอื่นที่เป็นวงกว้าง มันจะต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากกว่า แล้วอะไรที่เป็นปัจจัยให้เรียนรู้ทักษะได้ดีกว่าล่ะ.
เธอได้ตัดสินใจเรียนต่อในสายจิตวิทยา รวมถึงการสอนของเธอก็มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น คำถามที่ตั้งขึ้นมาก็คือ “ทำไมคนถึงประสบผลสำเร็จและทำไมถึงเป็นแบบนั้น”.
ทีมวิจัยของเธอได้ไป West Point Military Academy เพื่อที่จะหาข้อสรุปว่า “อะไรเป็นสาเหตุให้นักเรียนนายทหารจะอยู่ในที่ฝึกต่อไปและจะไม่ลาออกจากตรงนั้น” หลังจากนั้นก็ไปที่ National Spelling Bee เธอพยายามที่จะทำนายว่า “เด็กคนไหนที่มีการพัฒนาได้ไกลกว่าคู่แข่งของเขา” รวมถึงคุณครูที่เริ่มต้นสอนนักเรียนจะทำอย่างไรให้นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น และพนักงานขายจะทำอย่างไรให้ยอดขายนั้นเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เธอได้พยายามค้นคว้าหาคำตอบ.
หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญทั้งมองเห็นได้อย่างเด่นชัดขึ้นมา เป็นตัวทำนายได้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จคืออะไร มันไม่ใช่ความฉลาดทางการเข้าสังคม มันไม่ใช่ความดูดี และร่างกายที่แข็งแรงรวมถึงไม่ใช่ที่ไอคิวด้วย แต่มันคือความอดทนอดกลั้น.
ความอดทนอดกลั้นนั้นมาจาก ความหลงใหลและความขยันหมั่นเพียรเพื่อเป้าหมายในระยะยาว ความอดทนนั้นมันเป็นความแข็งแกร่งและทนทานอย่างยิ่ง มันทำให้คุณไม่เปลี่ยนใจไปทำอย่างอื่น และคุณก็กระทำอย่างต่อเนื่องวันแล้ววันเล่า ไม่ใช่ทำแค่ระยะเวลาเป็นวัน หรือเป็นเดือนแต่คือทำเป็นปีขึ้นไป และทำอย่างมีมุมานะเพื่อให้อนาคตนั้นปรากฏขึ้นมาจริง ๆ.
ถ้าเปรียบเหมือนกีฬาก็คงเหมือนมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งแข่งกัน เมื่อไม่นานมานี้เธอได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับความอดทนอดกลั้นใน Chicago Public Schools เธอได้เริ่มสัมภาษณ์มากกว่าพันคนในระดับชั้นไฮสกูลเพื่อให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความอดทน คำถามส่วนใหญ่ก็คือจะวัดว่าเด็กแต่ละคนมีความอดทนมากน้อยแค่ไหน และผลสรุปว่าเด็กที่มีความอดทนมากกว่าไม่ว่าจะมีรายได้ในครอบครัวเพียงใด หรือว่าจะมีปัญหาอะไรก็ตาม มักจะจบการศึกษาไปได้ไม่ยาก.
สำหรับเธอแล้วสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจที่สุด ก็คือคนส่วนน้อยที่รู้ว่า “ความอดทนอดกลั้นคืออะไร และมันสามารถสร้างขึ้นได้จากสิ่งใด” และ “การจะผลักดันให้คนเหล่านั้นเดินไปได้ยาวนานมากยิ่งขึ้นเกิดจากอะไร” เธอตอบอย่างจริงใจว่า ‘ไม่รู้’ เพราะสิ่งที่เธอตอบได้แค่เพียงพรสวรรค์ ไม่ใช่ตัวที่ทำให้คุณอดทนมากยิ่งขึ้น และมันไม่มีความเกี่ยวของกับความอดทนที่มีขึ้นเลย สิ่งที่เธอคิดว่ามีอิทธิพลต่อความอดทนมากที่สุดก็คือความคิดแบบเติบโต ความคิดนี้ได้คิดค้นโดยศาสตราจารย์ของ Stanford University ชื่อว่า Carol Dweck มันคือความเชื่อที่ทักษะสามารถเรียนรู้ได้ มันไม่ใช่ค่าคงที่ และมันสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยความพยายามของคุณเอง.
เมื่อนักเรียนได้อ่านเกี่ยวกับสมองว่าสามารถเปลี่ยนได้หรือพัฒนาได้ สมองจะถูกตอบสนองต่อความท้าทาย พวกเขามักจะอดทนเมื่อเจอความล้มเหลว เพราะว่าพวกเขาไม่เชื่อว่าความล้มเหลวคือสิ่งที่จะเกิดกับเขาอย่างถาวร ซึ่งความคิดแบบเติบโตจะเป็นสิ่งที่ช่วยเกื้อกูลให้ความอดทนอดกลั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้น.
ดังนั้นการที่ทุกคนจะต้องพัฒนาขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ มันทำให้เธอรู้สึกว่าจะต้องให้ทุกคนร่วมทำแบบทดสอบของความอดทนอดกลั้นไปด้วยกัน และการที่ให้องค์กรหลายที่ช่วยกันสนับสนุนต่อความอดทนอดกลั้นจึงเป็นสิ่งที่จะทำให้ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ยืนยาวที่สุด.
ความอดทนอดกลั้นไม่ได้มาจากพรสวรรค์ แต่มันถูกสร้างขึ้นมาจากความคิด
Angela Lee Duckworth