สมองตัดสินความสวยงามได้อย่างไร

สมองตัดสินความสวยงามได้อย่างไร

ความคิดเห็นต่อการบรรยาย

Chatterjee เล่าว่าเมื่อปี 1878 ได้มีเหตุการณ์สำคัญอย่างยิ่งเกิดขึ้นเพราะคนที่ชื่อ Sir Francis Galton ได้กล่าวไว้ที่ Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของคนสำรวจเกี่ยวกับความฉลาดของมนุษย์ แถมยังมีความเป็นพหูสูตและเป็นผู้สำรวจเรื่องมานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา และนักสถิติ รวมถึงเป็นนักสุพันธุศาสตร์ (Eugenist).

การที่ใช้รูปภาพเหตุการณ์ของเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้น มากลั่นกรองให้เกิดภาพขึ้นมา มันถูกใช้เป็นการทำนายของหน้าตาคนที่เป็นอาชญากรได้ แล้วคำถามที่ต่อยอดต่อไปคือ “อะไรเป็นสิ่งที่เรากำหนดค่าของความสวยขึ้นมา” ทำไมถึงต้องมีการกำหนดกะเกณฑ์ในเรื่องของเส้น สี และรูปแบบขึ้นมาด้วย.

สมัยก่อนเราจะวัดสิ่งที่เรียกว่าความสวยงามจากความสมมาตร จากการวัดค่าต่าง ๆ แต่ ณ ปัจจุบันนี้เราได้วิวัฒนาการขึ้นจากแต่ก่อน คือการใช้จิตวิทยา และเครื่องมือของประสาทวิทยา เขาได้บอกว่าปัจจัยแรกการที่ใบหน้าแต่ละคนแตกต่างกันนั้น แสดงถึงกลุ่มกึ่งกลางเฉพาะของผู้คน ที่มีความหลากหลายรูปแบบแถมยังต้องมีรูปแบบใบหน้าซ้ำเกิดขึ้นมาด้วย มันแสดงถึงความผ่าเหล่าของประชากร ซึ่งมีผลทำให้พันธุกรรมนั้นได้หลบหลีกภัย และเพื่อปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมด้วย คือการปรับตัวของธรรมชาติเพื่อให้มีการอยู่รอดในอนาคตกาล.

ปัจจัยต่อมาที่ประกอบเข้าด้วยกันก็คือความสมมาตร ผู้คนมักจะชอบใบหน้าที่สมส่วนมากกว่าใบหน้าที่ไม่สมส่วน รวมถึงการด้อยพัฒนานั้นมักจะเกี่ยวโยงกับความไม่สมส่วนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ และมนุษย์ก็ล้วนคล้ายคลึงกัน.

ความไม่สมส่วนมักจะเกิดโรคจากเชื้อปรสิต แต่ในความสมส่วนนั้นบ่งบอกถึงความมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และในช่วงปี 1930 มีคนที่ชื่อว่า Maksymilian Faktorowicz ได้สร้างเครื่องสมมาตรมาเพื่อความงามโดยเฉพาะ แล้วเครื่องนี้สามารถที่จะรู้ได้ว่าความบกพร่องในใบหน้าอยู่ตรงส่วนไหนบ้าง หลังจากนั้นบริษัท Max Factor จึงถือกำเนิดขึ้น.

ปัจจัยต่อมาที่ประกอบเข้าด้วยกันก็คือใบหน้าที่มีความดึงดูด ซึ่งมันมีผลต่อฮอร์โมน สิ่งที่เขาพูดต่อไปนี้อาจจะดูไม่เหมาะสมกับเพศตรงข้ามเท่าไรนัก ในการที่จะเปรียบเทียบระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) กับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) และหน้าที่หลักของทั้งสองฮอร์โมนนี้ก็คือ ปรับเปลี่ยนความดึงดูดให้แก่เพศตรงข้าม.

เอสโตรเจนทำหน้าที่สร้างสัญญาณของการเจริญพันธุ์ ซึ่งผู้ชายทำหน้าที่ค้นหาผู้หญิงที่มีการเจริญพันธุ์เต็มที่แล้ว โดยสิ่งที่บ่งชี้ก็คือ หน้าตาต้องไม่ดูเด็กจนเกินไป คนที่มีตาโตมากพอ ปากอิ่มเอิบ และคางที่ดูเล็กแคบ รวมถึงโหนกแก้มที่สูงก็เป็นตัวบ่งชี้เช่นกัน.

เทสโทสเตอโรนทำหน้าที่สร้างความเป็นชายมากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่บ่งชี้ก็คือ คิ้วที่ดูหนา แก้มที่ดูบางแต่อิ่มเอิบ ขากรรไกรที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งมันน่าแปลกใจมาก ที่ในสัตว์ทุกสายพันธุ์ได้ปกปิดระบบการป้องกันตัวเองไว้ แม้ว่าระบบความสมบูรณ์จะเป็นตัวบ่งชี้ให้เพิ่มความงามก็ตาม แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ตอบโจทย์จริง ๆ ก็เนื่องจากมันเป็นเพียงตัวกระตุ้นให้เรารู้สึกว่าเป็นต่อเท่านั้นเอง.

หางของนกยูงตัวผู้คือสิ่งที่เป็นต่อในทางพันธุกรรม แต่นั่นไม่ใช่ว่ามันจะสามารถป้องกันตัวจากพวกนักล่าได้และดึงดูดนกยูงตัวเมียได้ เขาจึงเกิดคำถามว่า “ทำไมถึงมีการวิวัฒนาการแบบสูญเปล่านี้ขึ้นมา” แม้กระทั่งในปี 1860 Charles Darwin ได้เขียนจดหมายถึง Asa Gray ไว้ว่า “เวลาที่มองไปยังหางของนกยูงตัวผู้มันทำให้เขารู้สึกป่วยทางกายมากขึ้น” ซึ่งมันไม่สามารถอธิบายได้ในทฤษฎี Natural Selection แต่กลับอธิบายได้ในทฤษฎี Sexual Selection แทน.

การที่หางของนกยูงตัวผู้นั้นถูกสร้างขึ้นมา ก็เพื่อเป็นตัวบ่งบอกความแข็งแรงสมบูรณ์และพร้อมที่จะถึงฤดูผสมพันธุ์ สิ่งที่ธรรมชาตินั้นสร้างเกินมาอาจจะไม่ใช่การสูญเปล่า ก็เนื่องด้วยสิ่งที่จะทำให้ผู้ชายนั้นดูดีขึ้นได้ ก็เพราะผู้ชายที่มีร่างกายที่แข็งแรงและสมส่วน เมื่อเปรียบเทียบกับคนในยุคปัจจุบันนี้ ที่ผู้ชายซื้อนาฬิกาเป็นจำนวนเงิน 10,000 เหรียญสหรัฐ ได้นั้นก็สื่อถึงความสมบูรณ์ทางการเงิน ทว่า การจะมองแบบนั้นก็คงไม่ใช่สิ่งที่สมเหตุสมผลสักเท่าไร.

แล้วเพราะเหตุใดวัยรุ่นหนุ่มสาวถึงไม่ค่อยคำนึงถึงสุขภาพมากนัก ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติจะตั้งค่ามาให้เรารู้สึกว่า ไม่จำเป็นที่ต้องคำนึงถึงสุขภาพในช่วงนั้น เปรียบเหมือนสีเขียว สีส้ม และสีแดง ที่สีเขียวนั้นหมายถึงวัยรุ่นที่มีร่างกายที่แข็งแรง และอยากจะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจต้องการ เนื่องจากธรรมชาติได้ให้พื้นที่ในการขยายเผ่าพันธุ์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น.

สิ่งที่เกิดขึ้นกับสมองที่มีต่อความสวยในบุคคลคืออะไร ใบหน้าที่มีความดึงดูดนั้นจะทำให้ไปกระตุ้นสมองส่วน Visual Cortex และส่วนที่ติดกับท้ายทอยด้านข้าง เพื่อทำหน้าที่ให้ประมวลผลหน้าตาที่ดึงดูดนั้นให้เป็นความรู้สึกเหมือนได้รับรางวัล และมีความอิ่มเอิบใจร่วมด้วย ซึ่งสมองส่วนหน้าและสมองส่วนลึกจะเป็นตัวรับรู้อารมณ์ทั้งหมด รวมถึงช่วงบริเวณที่เรียกว่า Ventral Striatum, Orbitofrontal Cortex และ Ventromedial Prefrontal Cortex อธิบายได้ประมาณว่า ภาพของใบหน้าจะถูกรับรู้โดยสมองที่รับรู้ภาพแล้วประมวลผล ส่งต่อไปยังสมองส่วนความรู้สึกให้ดื่มด่ำกับความสวยงาม.

ถ้าไม่มีคำอธิบายทางการแพทย์มาสนับสนุน ทุกคนก็จะรู้สึกว่าความสวยมีผลต่อเราทุกคนอยู่แล้วเป็นทุนเดิม เมื่อสมองนั้นทำหน้าที่ตอบสนองต่อใบหน้าที่ดึงดูด แม้ ณ ขณะนั้นเราไม่ได้นึกถึงความสวยงามเลย ความสวยงามคือสิ่งมองเห็นและความรู้สึกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และการที่เรามักจะให้ค่าความสวยว่าเป็นสิ่งที่ดีนั้น ถูกเหมารวมยึดติดเข้าไปในสมอง ซึ่งในสมองส่วน Orbitofrontal Cortex ได้คาบเกี่ยวเพื่อตอบสนองว่า สวยและดีเข้าด้วยกัน รวมถึงเกิดขึ้นเองโดยที่เราไม่ได้คิดว่าสวยแล้วดีหรือไม่ด้วย.

ความสวยแล้วดีจึงเป็นสาเหตุหลักให้คนส่วนใหญ่ ไล่ตามหาความสวยกันมากยิ่งขึ้น มันอาจจะหมายถึงความเฉลียวฉลาดที่ตามมาด้วย ในทางกลับกันคนที่มีใบหน้าที่ผิดปกติ และเสียโฉมมาจะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี มีจิตใจที่ไม่ดี มีความเฉลียวฉลาดน้อยกว่า มีความสามารถน้อยกว่า และการขยันต่อการทำงานก็น้อยกว่าด้วย.

การเหมารวมนี้ได้ส่งผลกระทบถึงความพิการว่ามันไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นเหล่าร้ายในภาพยนตร์ก็มักจะมีใบหน้าที่บิดเบี้ยว มีตำหนิ และความบกพร่องต่าง ๆ ถ้าเรายังเหมารวมแบบนี้อยู่ มันจะทำให้คนในสังคมเกิดการตัดสินคนที่ภายนอก มองไม่เห็นถึงการกระทำที่บุคคลนั้นได้ทำเอาไว้.

ความคิดสุดท้ายที่ได้ทิ้งท้ายเอาไว้คือ ความสวยความงามนั้นไม่ใช่สิ่งที่สลักสำคัญในยุค Pleistocene ซึ่งผ่านมา 2 ล้านกว่าปีมาแล้ว แต่การปรับตัวของธรรมชาติทำให้ความสวยงามมีความสำคัญขึ้นมา จักรวาลนี้ได้เปลี่ยนแปลงคุณค่าความสวยงามไปแล้ว ตราบเท่าที่เรานั้นเป็นคนเปลี่ยนแปลงมันเอง.

ความสวยงามเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา เพื่อที่จะให้ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้

Anjan Chatterjee

สามารถซื้อหนังสือได้ที่

Amazon