ความคิดเห็นต่อการบรรยาย
Dweck เคยได้ยินพลังของคำว่า ‘ยัง’ ที่โรงเรียนไฮสกูลใน Chicago ทุกคนที่สอบตกในวิชาใดวิชาหนึ่ง พวกเขาจะได้เกรด “ยังไม่” มันเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์สำหรับเธอมาก ก็เพราะคำว่ายังไม่ คือคำที่เปลี่ยนความคิดของนักเรียนว่า “คุณยังไม่ผ่าน” ดีกว่าไหม แทนที่จะใช้คำว่า “คุณไม่ผ่าน” หลังจากนั้นคุณจะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ได้ มันมอบหนทางเดินไปยังอนาคต.
คำว่า “ยังไม่” ก็ทำให้เธอมาตระหนักรู้ว่ามันมีส่วนสำคัญกับงานของเธออย่างยิ่ง มันคือจุดเปลี่ยนของชีวิตเลยล่ะ แล้วเธอก็อยากจะรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนแต่ละคนเลือกที่จะทำงานที่ท้าทายและทำงานที่ยากลำบาก ต่อมาก็ได้ทดสอบกับเด็กอายุ 10 ขวบ เป็นแบบทดสอบที่ค่อนข้างยากพอสมควร เธอได้เห็นปฏิกิริยาของบางคนที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง พวกเขาพูดว่า “ฉันรักความท้าทาย” หรือว่า “คุณรู้ไหม ฉันเคยหวังไว้ว่าสิ่งนี้จะมอบความรู้ให้” พวกเขาเชื่อว่าการพัฒนานั้นย่อมเกิดขึ้นได้.
สิ่งนี้เรียกว่าความคิดแบบเติบโต (Growth mindset) ทว่า นักเรียนคนอื่น ๆ กลับบอกว่ามันเป็นสิ่งที่เลวร้ายและเป็นภัยพิบัติ จากคนที่มีความคิดแบบคงที่ (Fixed mindset) ซึ่งความคิดแบบนี้จะมองว่าทุกอย่างไม่สามารถพัฒนาได้อีกแล้ว มันนำมาซึ่งความล้มเหลวอย่างแท้จริง.
แทนที่จะมีความคิดแบบ “ยังไม่” คนที่มีความคิดแบบคงที่กลับมองว่าความคิดถูกปิดกั้นอย่างแน่นหนา เหมือนถูกพวกเผด็จการจับเอาไว้ในตอนนี้ ความคิดที่จะโกงข้อสอบในการสอบครั้งถัดไปก็จะเป็นทางออกของปัญหานี้ แทนที่จะพยายามพัฒนาความสามารถเพื่อทำข้อสอบให้ผ่าน และอีกข้อมูลหนึ่งหลังจากที่นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้สอบตก พวกเขากลับหาคนที่แย่กว่าเขา เพื่อที่จะทำให้ตัวเองดูดียิ่งขึ้น หลังจากนั้นข้อมูลอีกหลายข้อมูลก็บอกอีกว่า พวกเขาจะหนีความยากลำบากและไม่ยอมเผชิญหน้ากับมัน.
นักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ Moser, Schroder, Heeter, Lee, & Moran, 2011 ได้ระบุไว้ว่า กระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนอยู่ในสมองมันสามารถบอกได้ว่านักเรียนคนไหนจะเผชิญหน้ากับความผิดพลาดได้มากกว่ากัน ซึ่งความคิดแบบคงที่จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่เลย นั่นก็หมายถึงว่าไม่มีการตอบสนองใด ๆ ต่อความผิดพลาดแม้แต่น้อย แต่กลับกันคนที่มีความคิดแบบเติบโตกลับมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอย่างยิ่งยวด เพราะนั่นคือการตอบสนองต่อความผิดพลาดที่เผชิญอยู่.
คำถามที่มีต่อเรื่องนี้ก็คือ “เราจะยกระดับความคิดของลูกหลานได้อย่างไร” และ “เราจะสามารถช่วยให้พวกเด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับคำว่ายังไม่ ได้โดยวิธีใด” มันจะต่อยอดไปสู่คำถามที่ว่า “แล้วอะไรที่เราสามารถสร้างได้ เพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อกับคำว่ายัง”.
อย่างแรกเลยก็คือเราทุกคนต้องชื่นชมเด็กอย่างชาญฉลาด มันไม่ใช่การชื่นชมความเก่งหรือว่าพรสวรรค์แค่นั้น เพราะมันไม่เกิดประสิทธิผลในระยะยาวขึ้นมาได้เลย แต่ให้เปลี่ยนเป็นการชื่นชมเขาจากความพยายาม ความคิดที่โฟกัสต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความขยันหมั่นเพียร หรือความคิดที่ต่อยอดไปเรื่อย ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น.
อย่างที่สองคือเราทุกคนต้องยังไม่ให้รางวัลกับเด็กเร็วจนเกินไป ทีมของเธอได้คิดค้นเกมขึ้นมาจากที่ University of Washington มันคือเกมคณิตศาสตร์ออนไลน์ที่ยังไม่ให้รางวัล ก็ต่อเมื่อคนที่เล่นเกมมีความพยายาม การใช้กลยุทธ์และใช้กระบวนการความคิดต่าง ๆ และเนื่องจากเกมนี้ไม่เหมือนเกมทั่วไปคือ ยิ่งสะสมความพยายามมากขึ้นก็ยิ่งได้รับรางวัลมากยิ่งขึ้น.
อย่างที่สามคือเราทุกคนสามารถเปลี่ยนความคิดของเด็กได้ ในอีกข้อมูลหนึ่ง เธอได้สอนเด็กทุกครั้งว่าเมื่อเราออกจากพื้นที่สบายได้ เมื่อนั้นเราจะสามารถพัฒนาทักษะได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงเส้นประสาทภายในสมองก็จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ พร้อมกับเชื่อมต่อกันอย่างเหนียวแน่นมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไรก็ยิ่งได้รับความฉลาดมากขึ้น เธอเน้นย้ำว่า ให้เพิ่มสื่อการสอนเกี่ยวกับความคิดแบบเติบโตเข้าไปในชั้นเรียนด้วย มันสำคัญอย่างยิ่งเพราะว่ามันจะทำให้เด็กมีความเติบโตทางความคิดในระยะยาวได้จริง ๆ.
นี่คือตัวอย่างบางส่วนที่ทำให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมสามารถเกิดขึ้นได้จริง ไม่ว่าจะเป็นที่ Harlem, New York ตอนที่เด็กอนุบาลเพิ่งเข้ามาในโรงเรียนแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถจับปากกาได้ด้วยซ้ำ แต่พวกเขาสามารถใช้เวลาแค่ 1 ปี เพื่อทำคะแนนสูงถึงอันดับ 95% บน National Achievement Test ส่วนที่ South Bronx, New York เด็กนักเรียนชั้นเกรด 4 ใช้เวลา 1 ปี กลายมาเป็นอันดับ 1 ของรัฐนิวยอร์ก บนการทดสอบคณิตศาสตร์ของรัฐ และส่วนสุดท้ายที่ Native American Reservation ที่ใช้เวลาเพียง 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง ในการที่พัฒนาเด็กจากจุดต่ำสุดของอำเภอกลายเป็นจุดสูงสุดของอำเภอได้ และนั่นก็รวมถึงอำเภอเดียวกันกับคนที่มั่งคั่งร่ำรวยในรัฐ Seattle ด้วย.
การที่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะเธอได้เปลี่ยนความหมายของคำว่าพยายาม และคำว่ายากลำบากไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งในตอนแรกความพยายามและความยากลำบากนั้นทำให้ทุกคนรู้สึกไม่อยากจะเผชิญหน้ากับมัน แต่พอเด็กได้เรียนรู้ใหม่ว่าทุกปัญหามันสามารถแก้ไขได้ พวกเขาจึงคิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะลองทำมันดู.
เธอได้รับจดหมายจากเด็กอายุ 13 ปี แล้วเด็กชายคนนี้ได้เขียนไว้ว่า “ถึงศาสตราจารย์ Dweck ผมได้อ่านสิ่งเป็นผลงานของอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องความคิดแบบเติบโต ผมรู้สึกปลาบปลื้มยินดีอย่างยิ่งที่ผลงานชิ้นนี้จะเป็นสิ่งที่สลักสำคัญแก่คนอื่นและรวมถึงตัวของผมเองด้วย ผมได้นำสิ่งที่อาจารย์สอนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน กับครอบครัว และกับเพื่อนในโรงเรียน ผมตระหนักรู้เลยว่าที่ผ่านมามันเป็นการใช้ชีวิตที่สูญเปล่ามาก เพราะหลังจากที่ผมได้อ่านเรื่องนี้ ผมรู้อย่างชัดเจนว่าวันนี้ต้องทำอะไร”.
นับแต่นี้ต่อไปทุกคนต้องไม่ทำให้ชีวิตของเราสูญเสียเวลาโดยใช่เหตุ ก็เพราะคุณรู้อย่างแจ่มชัดว่าการที่ชีวิตนั้นสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ มันคือการสร้างสิทธิมนุษยชนเพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ที่จะเติบโตไปด้วยกัน และให้ใช้คำว่า ‘ยัง’ ในทุกบริบทของชีวิต.
ความคิดแบบเติบโตคือหนทางของบุคคลที่เชื่อว่า เราสามารถข้ามขีดจำกัดของตัวเองได้
Carol Dweck