การเป็นมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพนั้นทำอย่างไร

การเป็นมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพนั้นทำอย่างไร

ความคิดเห็นต่อการบรรยาย

Cameron เกริ่นถึงเรื่องการสัมมนาที่ TED เปรียบเสมือนสถานที่ของการโปรยไอเดียที่กว้างใหญ่ ซึ่งการมีไอเดียที่กว้างใหญ่ได้นั้นต้องเริ่มจากคำถามที่กว้างใหญ่ด้วย รวมถึงเขาก็เป็นคนที่ชื่นชอบไอเดียที่กว้างใหญ่เอามาก ๆ.

เขากล่าวว่าไอเดียที่กว้างใหญ่ต้องเริ่มจากคำเหล่านี้คือ ทำไม (Why) อะไร (What) และอย่างไร (How)

ทำไมเราถึงอยู่ที่แห่งนี้กัน (Why are we here?)

อะไรคือเป้าหมายในชีวิตของฉัน (What is my purpose?)

ทำอย่างไรถึงจะสามารถค้นหาหนทางในชีวิตอันแท้จริงได้ (How can I find my true path in life?)

ต่อจากคำถามที่กว้างใหญ่ ก็ต้องหมายถึงการพบเจอคำตอบที่กว้างใหญ่เช่นเดียวกัน ตอบคำถามที่เขาได้ถามทุกคนที่มาร่วมฟังก่อนว่า “เขาไม่รู้ เพราะเขาไม่ใช่คน ๆ นั้น” จากคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะสามารถค้นหาหนทางในชีวิตอันแท้จริงได้ ซึ่งเขามองว่าเป็นคำถามที่ดี แต่อะไรคือสิ่งที่เราจะรู้หนทางข้างหน้าว่าจะเจอกับอะไรบ้างล่ะ บางทีหนทางก็เลี้ยวลดคดเคี้ยว หรือบางทีหนทางก็อาจจะดูเห็นชัดแต่กลับกลายเป็นว่าไม่รู้จะเดินไปทางไหนดี.

เขาสื่อถึงว่าเราไม่สามารถรู้ได้หรอกว่าจะเจออะไร แต่คุณภาพของคำถามเป็นสิ่งที่สำคัญมากคือให้ถามว่า เราจะตัดสินใจอย่างไร (How to make decisions) ไม่ว่าจะตัดสินใจในการเลือกเดิน ตัดสินใจว่าจะไปทางนี้ หรือเป้าหมายที่เราต้องการไปถึง แล้วนี่แหละเป็นกุญแจสำคัญของการเป็นมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ ทว่า มันไม่ใช่เพียงแค่นั้น คำถามที่ต่อยอดไปอีกคือ มีอะไรบ้างที่เราพูดถึงเมื่อพูดเกี่ยวกับประสิทธิภาพ.

ในหลายคนอาจจะคิดไปว่า คนที่มีประสิทธิภาพคือการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน มีงานล้นมือเต็มไปหมด นั่นคือคนที่มีความสามารถอย่างยิ่ง เขาเน้นย้ำว่าการยุ่งอยู่ตลอดเวลานั้นไม่เหมือนกับคำว่ามีประสิทธิภาพจริง ๆ (Busy is not the same as productive) และสิ่งที่จะชี้ชัดได้ว่าคน ๆ นั้นมีประสิทธิภาพจริง ๆ คือการที่พวกเขามี 3 สิ่ง คือเป้าหมาย (Goals) เครื่องมือ (Tools) และนิสัย (Habits).

แล้วการที่จะทำอย่างไรให้ 3 สิ่งนั้นสัมฤทธิ์ผลได้ก็คือต้องสร้างกฎระเบียบขึ้นมา (Rules) มันคือการรวมกันของเป้าหมาย เครื่องมือ และนิสัย บวกกับ เวลา (Time) และความเอาใจใส่ (Attention) กฎจะเป็นตัวทำให้เราสามารถสร้างกระบวนการในมนุษย์ได้ เหมือนกับที่เรียกว่าระบบปฏิบัติการมนุษย์ (Human operating system) เขาเรียกมันว่า myOS.

กฎที่จะต้องใช้ต่อไปนี้มีทั้งหมด 5 กฎ ซึ่งเรียงจากข้างในไปข้างนอก การที่เราจะกำหนดให้ชัดเจนมากที่สุดควรเป็นข้อแรกเพราะมันสำคัญมากที่สุด.

1. เป็นคนที่ซื่อสัตย์และจริงใจ (Be honest)

หมายถึงการที่เราต้องจริงใจต่อรูปธรรมและนามธรรมอย่างแท้จริง มันคือการที่เราต้องตระหนักรู้ว่าสิ่งที่เรากำหนดขึ้นมาต้องเห็นได้ชัดเจน การจริงใจต่อตนเองทำให้คุณเห็นตัวเองชัดขึ้น และการที่เราจริงใจต่อผู้อื่นก็ทำให้ได้รับความจริงใจตอบกลับมาเช่นกัน.

2. เป็นคนที่ไม่กลัวการเผชิญหน้ากับปัญหา (Be unafraid)

หมายถึงการที่เราถามตัวเองตลอดเวลาว่าทำอันนี้แล้วจะได้อะไรกลับมา ถ้าเจอสิ่งนี้แล้วจะได้สิ่งนั้นไหม มันคือคำถามที่เราต้องถามว่า “แต่ ถ้าอะไร” ยิ่งเราไม่กลัวการเผชิญหน้ากับปัญหา ก็จะทำให้เรากลายมาเป็นคนที่รู้สึกสบายเวลาเจอความล้มเหลว (Become comfortable with the possibility of failure).

Bobby Jones เคยกล่าวไว้ว่า “ผมไม่เคยได้เรียนรู้อะไรได้จากแมตช์ที่ผมชนะเลย”.

3. เป็นคนที่เอาใจใส่ (Be mindful)

หมายถึงการที่เราต้องเอาใจใส่กับสิ่งนั้นให้มากเท่าที่มากได้ มันคือการทำงานด้วยความตั้งใจจริง และมันคือการใช้เครื่องมือนั้น ๆ กับสิ่งที่เราทำ แต่อย่าให้เครื่องมือนั้นใช้เราแทน ก็เพราะการที่เรามีเครื่องมือแต่เราไม่สามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้ ก็เท่ากับเราไม่มีเครื่องมือนั้น.

4. เป็นคนที่ตื่นตัวอยู่เสมอ (Be active)

หมายถึงการที่เราสามารถตื่นรู้ที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ มันต้องใช้เวลาและความเอาใจใส่ผสมผสานเข้าด้วยกัน สิ่งนี้จะสำคัญก็ต่อเมื่อเจอบทเรียนที่ยากจะแก้ไขมันได้ เราจำเป็นต้องรู้สึกสงบอยู่เสมอเช่นกัน ทั้งหมดนี้คุณเองนั่นแหละที่จะเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมที่สุด หมายถึงยิ่งฝึกตนเองมากเท่าไรก็ยิ่งพึ่งพาตนเองได้มากเท่านั้น.

Viktor E. Frankl เคยกล่าวไว้ว่า “เมื่อเราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ เราก็จำเป็นต้องเจอความท้าทายที่จะเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง”.

5. เป็นคนที่ดีเยี่ยมอยู่เสมอ (Be nice)

หมายถึงการที่เราเป็นเพื่อนร่วมโลกเดียวกัน แม้ว่าเราจะไม่ชอบพวกเขาก็ตามแต่ นั่นคือสิ่งที่ทุกคนควรจะต้องนำไปปฏิบัติใช้กับชีวิต รวมถึงอย่าลืมที่จะดีกับตัวเราเองด้วย มันเป็นกฎที่สำคัญต่อมนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง.

เขาได้บอกว่ากฎทั้งหมดนี้รวมกันเป็นคำว่ามนุษย์ (HUMAN) ทุกคนจึงจำเป็นต้องใช้ความเป็นมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากคำถามที่ว่าทำไมเราถึงมาอยู่ที่แห่งนี้กัน ก็เพราะมนุษย์นั้นต้องการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน และต้องแบ่งปันสิ่งที่จะพอแบ่งปันกันได้ (Sharing).

Henry Stanley Haskins เคยกล่าวไว้ว่า “คำโกหกอะไรที่อยู่ข้างหลังเราบ้าง และคำโกหกอะไรที่มาก่อนเราบ้าง จากส่วนเล็ก ๆ หลายชิ้นส่วนเมื่อหลอมรวมเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะหาว่าคำโกหกอะไรที่อยู่ในตัวของเราเอง”.

คำถามที่กว้างใหญ่ที่ต้องถามต่อไปคือ “คุณต้องการที่จะแบ่งปันอะไร” เริ่มต้นแบ่งปันสิ่งเหล่านั้นตั้งแต่ ณ ตอนนี้ คุณจะเป็นคนที่มีประสิทธิภาพคนต่อไปอย่างแน่นอน.

ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้นั้น ต้องประกอบด้วยการแบ่งปันซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง

Dave Cameron