การเป็นคนดีกับเป็นคนที่ดีจริง นั้นทำอย่างไร

การเป็นคนดีกับเป็นคนที่ดีจริง นั้นทำอย่างไร

ความคิดเห็นต่อการบรรยาย

Chugh เล่าว่าเมื่อเพื่อนของเธอได้นั่งรถแท็กซี่ไปสนามบิน ในระหว่างเดินทางไปก็ได้นั่งคุยกับคนขับรถในประเด็นที่ว่า “ผมสามารถบอกคุณได้นะว่าคนที่ดีจริง ๆ นั้นเป็นแบบไหน” ซึ่งเพื่อนของเธอรู้สึกอิ่มเอิบใจมาก คือมันเหลือเชื่อว่าสิ่งที่เธอได้คุยกับคนขับรถจะมีความหมายต่อเธอมากขนาดนี้ เรื่องนี้มันฟังดูแปลกมากแต่ก็นั่นแหละ ก็เพราะเธอเป็นนักสังคมศาสตร์และได้ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาของการเป็นคนดี.

ในความเป็นจริงแล้วกับคำว่าเป็นคนดีจริง ๆ คืออะไร แต่ละความหมายของการเป็นคนดีในแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ทว่า ความจริงของความดีนั้นมีอยู่ การที่เราทุกคนมักจะปกป้องความเป็นคนดีจากปัญหาต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ปกติและเราก็มักจะป้องกันตัวเองจากคำกล่าวหานั้น ๆ เพื่อปกป้องความดีในตัวเราเอง เช่น การพยายามพูดเรื่องตลกขำขัน การรวมกันเป็นเนื้อเดียวกับคนที่ทำงาน การที่จะทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มมากขึ้น หรือแม้ว่าการที่เราพยายามที่จะเป็นคนดีด้วยการบริจาคเงิน รวมถึงเป็นอาสาสมัครกับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร.

ถ้าเธอกำลังบอกคุณว่าสิ่งที่ผูกติดกับการเป็นคนดี นั่นยังไม่เรียกว่าคนดีจริง ๆ ซึ่งในทางการแพทย์ก็ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยว่าคนดีคืออะไรจริง ๆ แต่ในความหมายของคนดีมันแคบกว่าที่คุณคาดฝันเอาไว้เยอะมาก ก็แค่คุณเริ่มที่จะปล่อยคำว่าคนดีออกไปจากความคิดของคุณ.

ต่อไปนี้เธออธิบายถึงผลวิจัยเกี่ยวกับสมองของมนุษย์ว่ามีกระบวนการอย่างไรบ้าง ซึ่งสมองนั้นทำหน้าที่สร้างทางลัดเพื่อให้เกิดการทำงานหลากหลายอย่างพร้อมกัน มันสามารถสร้างภาพจำลองขึ้นมาเพื่อทำให้เราขาดการตระหนักรู้ เปรียบเหมือนโหมดประหยัดพลังงานในสมองของคุณ ในความเป็นจริงมันคือหลักฐานของการกรอบเหตุผลขึ้นมา.

Bounded Rationality นั้นทำหน้าที่จำกัดพื้นที่ในสมอง เพื่อจำกัดพลังงานแล้วทางลัดนี่แหละคือตัวทำให้เกิดการทำงานขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คุณเจอเหตุการณ์อะไรก็ตาม คุณจะมีความคิดที่เรียงรายเข้ามาในสมองคุณถึง 11 ล้านข้อมูล และคุณใช้เพียง 40 ข้อมูล เพื่อที่จะประมวลผลว่าสิ่งนี้คืออะไร เปรียบเสมือนเวลาคุณทำงานมาเหนื่อย ๆ คุณกำลังขับรถกลับบ้านแบบไร้วิญญาณนั่นก็เหมือนการที่คุณกำลังใช้โหมดขับรถแบบอัตโนมัติอยู่ และเวลาที่คุณเปิดตู้เย็นมาแล้วคิดว่าเนยในตู้เย็นหมดแน่ ๆ แต่ทั้ง ๆ ที่ในตู้เย็นมีเนยอยู่ตรงหน้าคุณ แต่คุณกลับมองไม่เห็นมัน.

เหตุการณ์ที่เธอได้เล่ามาบ่งชี้ว่าเราใช้เพียง 40 ข้อมูล ในการประมวลผลในระดับการตระหนักรู้เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เธอมีแรงบันดาลใจในการหาคำตอบ รวมถึงเพื่อนร่วมงานของเธอคือ Max H. Bazerman และ Mahzarin Banaji เราเรียกมันว่า Bounded Ethicality การทำหน้าที่มีความคล้ายคลึงกับการกรอบเหตุผล แต่อันนี้คือการกรอบจริยธรรม.

ยกตัวอย่างของการกรอบจริยธรรมก็คือ เวลาที่เรารับรู้ข้อมูลมาจำนวนหนึ่งเราจะมีกรอบความคิดที่ถูกสร้างขึ้นมาต่อสิ่งนั้น แล้วการที่เรามีกรอบความคิดเดิมอยู่แล้วมันทำให้สิ่งที่เราเห็นจริง ๆ ถูกบิดเบือนไป รวมถึงมันไม่มีความเกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นและไม่มีการเข้าไปในความเชื่อของคุณด้วย.

Brian Nosek, Mahzarin Banaji และ Anthony Greenwald ได้ทำการหาข้อมูลจากตัวอย่างมากกว่าล้านคน เพื่อหาคำตอบ เช่น ชาวอเมริกันผิวขาวมักจะมองอเมริกันผิวขาวด้วยกันว่าดี มากกว่าอเมริกันผิวสีที่ดี และชาวอเมริกันทั้งผู้หญิงและผู้ชายมักจะมีความเกี่ยวโยงกับผู้ชายต่อวิทยาศาตร์ มากกว่าผู้หญิงต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งวิจัยนี้มันไม่ได้มีการเข้าไปในความคิดของคนเลยแม้แต่น้อย หมายถึงทุกคนเป็นไปเองโดยความเสมอภาค ทว่า การที่มีข้อมูลตั้ง 11 ล้านข้อมูล หรือการที่ใช้ 40 ข้อมูลนั้นไม่ได้มีการเข้าไปในการตระหนักรู้ใด ๆ เลย.

ยกตัวอย่างอีกอย่างหนึ่ง เช่น ความขัดแย้งของความสนใจ เรามักจะประเมินของขวัญที่ได้รับต่ำกว่าความเป็นจริงเสมอ เช่น การได้ปากกาลูกลื่นหรือการไปดินเนอร์ การได้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ มันจะมีผลต่อการตัดสินใจของเรามาก จนถึงขั้นที่เราไม่ได้คำนึงถึงมุมมองของคนให้ของขวัญเลยว่า เขามีความตั้งใจให้เรามากน้อยแค่ไหน หรือเขาต้องการจะทำให้มันดูดีในสายตาของเราก็ตาม.

เรื่องการกรอบจริยธรรม ก็สะท้อนให้เราเห็นว่ามันมีบางกรอบความคิด ที่มันทำให้ผู้อื่นรู้สึกเสียใจโดยที่เราไม่ได้เจตนา บางครั้งก็หมายถึงการแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันด้วย ก็ด้วยการที่เรามักจะอธิบายถึงการทำผิดพลาดของเรา มากกว่าที่จะเรียนรู้มัน แล้วสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการป้องกันตัวเองจากคำกล่าวหาเพื่อปกป้องความดีในตัวเรา.

วิจัยล่าสุดที่เธอได้ค้นคว้ามาเกี่ยวกับเรื่องการกรอบจริยธรรมกับ Mary C. Kern ที่แสดงให้เห็นว่าผู้คนมักจะมีความโน้มเอียงไปทางความผิดพลาดของการแสดงออกมากยิ่งขึ้น ถ้าเขารู้สึกว่าได้เข้าใกล้พื้นที่ของการป้องกันตัวเอง นัยจริยธรรมของคนนั้นก็ยิ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ เพราะติดอยู่ในกรอบจริยธรรม เปรียบเหมือนว่าผู้คนจะยิ่งแสดงออกว่าเป็นคนดี ทั้ง ๆ ที่ความหมายของการกระทำบางอย่างไม่ได้สะท้อนว่าเขาเป็นคนดีจริง ๆ แต่ก็ทำไปเพราะเขารู้สึกว่าเป็นคนดีมากขึ้นแค่นั้น.

บางทีการกรอบจริยธรรมก็หมายถึงการที่เราประเมินค่าความดีสูงจนเกินไป เช่น การที่เรามักจะคิดว่าภาพลักษณ์ในความดูดีนั้นสำคัญกว่าการเป็นคนดีจริง ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณขาดการตระหนักรู้เรื่องของการเป็นคนดีจริง ๆ และทำให้ติดอยู่ในกรอบจริยธรรมไปโดยปริยาย.

มันง่ายกว่าไหมที่เราไม่ต้องพยายามเป็นคนดี แต่กลับกลายเป็นเรารู้ว่าคนดีคืออะไร ต้องทำแบบไหนและต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อที่เราจะกลายมาเป็นคนที่ดีจริง ๆ บางครั้งเราอาจจะต้องใช้คำว่า Good-ish เพื่อให้รู้สึกว่าเราเป็นคนดีขึ้นจริง ๆ รวมถึงเพื่อให้เราสามารถเตือนตัวเองได้ว่า เราทำผิดพลาดอะไรไปบ้าง.

สุดท้ายแล้วก็อาจจะทำให้เรารู้สึกอายที่ได้เป็นคนดีขึ้นมา ทว่า ความเปราะบางของภาพลักษณ์มันอาจจะเป็นประโยชน์ก็ได้เหมือนกัน อย่างน้อยเราก็ได้เห็นความอ่อนแอที่เรามี เพื่อนำมาปรับใช้ให้พัฒนายิ่งขึ้นไป แล้วทำไมเราไม่ให้พื้นที่กับตัวเองได้เติบโตบ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้เราดีขึ้นจริง ๆ.

การจะเป็นคนดีจริง ๆ คือต้องหยุดอยากจะเป็นคนดี

Dolly Chugh

สามารถซื้อหนังสือได้ที่

Amazon