ชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข

ชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข

ความคิดเห็นต่อการบรรยาย

Smith ได้บอกว่าชีวิตของทุกคนมัวแต่ไล่ตามหาความสุข คนส่วนมากก็บอกกล่าวกันมาว่าความสุขคือความสำเร็จ เธอก็ได้ลองค้นหาคำตอบว่า คนที่ได้ทำงานในอุดมคติ มีแฟนที่สมบูรณ์แบบหรือว่ามีอพาร์ทเมนท์ที่สวยงาม แล้วเธอก็ได้ค้นพบว่าคนส่วนใหญ่กลับไม่พบเจอความสุขเลยแม้แต่น้อย ทั้งนี้พวกเขากลับรู้สึกกระวนกระวายและไร้จุดหมาย ซึ่งเพื่อนของเธอก็เจอแบบนี้เหมือนกัน.

ต่อมาเธอก็ได้ตัดสินใจเรียนจิตวิทยาเชิงบวก แล้วก็ได้เรียนรู้ว่า “อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง” ซึ่งข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามาได้แสดงให้เห็นว่ายิ่งไล่ล่าหาความสุข เรากลับไม่พบเจอความสุข ข้อมูลนี้ทำให้เธอเป็นกังวลถึงเรื่อง อัตราการฆ่าตัวตายทั่วโลกที่เพิ่มสูงมากขึ้น และล่าสุดก็ได้มีผลออกมาว่า ประเทศอเมริกานั้นอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และทำลายสถิติของ 30 ปีที่แล้วด้วย.

ความรู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง หรือความรู้สึกด้านลบอื่น ๆ ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเป็นโรคซึมเศร้าเท่านั้นถึงจะเกิดขึ้นมาได้ ซึ่งเธอได้กล่าวถึงผลวิจัยว่า อะไรเป็นตัวชี้วัดของความสิ้นหวัง และเป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่พบเจอความสุข.

เธอก็ได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า “อะไรที่จะทำให้เราเจอความหมายของชีวิตที่แท้จริง” และ “อะไรคือความแตกต่างระหว่างการมีความสุข กับการมีความหมายในชีวิต” นักจิตวิทยาหลายคนได้นิยามคำว่าความสุขเอาไว้หลายแบบ แต่ทั่วไปก็คือความสบาย และความผ่อนคลาย ความรู้สึกดีตรง ณ จุดนั้น.

นักจิตวิทยา Martin Seligman ได้กล่าวไว้ว่า “ความหมายในชีวิตจะมาจากการเป็นของกันและกัน และการแจกจ่ายให้กับผู้อื่น รวมถึงมันถูกพัฒนามาจากสิ่งสุดยอดภายในตัวเราเอง” วัฒนธรรมดั้งเดิมนั้นหล่อหลอมให้เราจมอยู่กับความสุข แต่เธอค้นพบว่าการแสวงหาความหมายในชีวิตคือการรู้ชัดว่าจะเดินไปทางไหน.

การศึกษาค้นคว้าของเธอแสดงให้เห็นว่า คนที่เจอความหมายในชีวิตมักจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า พวกเขาทำงานได้ดีเยี่ยมทั้งที่โรงเรียน และที่ทำงาน รวมถึงมีอายุขัยที่ยืนยาวกว่าด้วย หลังจากนั้นเธอก็ตั้งถามว่า “เราจะใช้ชีวิตที่มีความหมายได้อย่างไร”.

เธอใช้เวลา 5 ปี เพื่อที่จะสัมภาษณ์คนร้อยกว่าคน และอ่านหนังสือจิตวิทยา ประสาทวิทยา และปรัชญารวมกันแล้วมากกว่าพันหน้า พอมาหลอมรวมกันเป็นหนึ่งแล้วเธอได้คิดหลักการของการมีชีวิตอยู่ขึ้นมา.

คือ 4 หลักของการมีความหมายในชีวิต.

1. ความเป็นของกันและกัน (Belonging)

หลายคนอาจจะคิดว่าการเป็นของกันและกันคือ เราคิดว่าเรารักใคร เราเกลียดใคร แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่แค่นั้น ซึ่งการเป็นของกันและกันคือ น้ำพุแห่งความรัก มันซึมซาบอยู่ขณะนั้น ๆ ในระดับปัจเจก รวมถึงเราสามารถพัฒนาความเป็นของกันและกันโดยการเลือกเฟ้น.

ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนของเธอชื่อ Jonathan ซึ่งในทุก ๆ เช้าเขามักจะไปซื้อหนังสือพิมพ์ร้านเดิมที่ New York มันคือการที่เราเข้าไปอยู่ในชีวิตของใครคนหนึ่ง แล้วก็มีการพูดคุยซึ่งกันและกันอยู่เป็นประจำ.

แต่มีอยู่วันหนึ่งที่เขาไม่ได้แลกเงินไว้พอกับราคาหนังสือพิมพ์ แต่คนขายหนังสือพิมพ์ก็บอกว่า “ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องเงิน” ต่อมาเขาพยายามที่จะซื้อของชิ้นอื่น เพื่อที่จะไปซื้อหนังสือพิมพ์นั้นให้ได้ แต่เหมือนกับคนขายหนังสือพิมพ์ก็เห็นท่าทีของเขาที่ดูเหมือนจะไม่ยอมรับข้อเสนอของคนขายหนังสือพิมพ์เลยแม้แต่น้อย เธอย้ำว่ามีหลายครั้งที่เราก็เพิกเฉยคนที่เรารู้ทั้งรู้ว่าคนนี้คือใคร เราไม่สนใจบทสนทนานี้แล้วก็ทำเป็นเล่นโทรศัพท์ไปด้วย.

การปฏิเสธข้อเสนอผู้อื่นแบบไร้เยื่อใยก็อาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจ มันทำให้คนอื่นรู้สึกว่าเขาไม่มีตัวตน และไร้ค่า ทั้งนี้ความเป็นของกันและกันทำให้เราหาความหมายในชีวิตเจอ มันรวมถึงความเป็นครอบครัว และเพื่อนด้วย.

2. จุดมุ่งหมาย (Purpose)

การมีจุดมุ่งหมายนั้นไม่ใช่เพียงแค่เรามีงานทำ แล้วงานนั้นทำให้คุณมีความสุขในชีวิต จุดมุ่งหมายไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่คุณต้องการ แต่คำนึงถึงสิ่งที่คุณกำลังให้ไป ผู้ดูแลโรงพยาบาลเคยบอกกับเธอว่า “จุดมุ่งหมายมันเยียวยาคนได้จริง ๆ” ผู้ปกครองจำนวนมากบอกกับเธอว่า “จุดม่งหมายในชีวิตคือการเลี้ยงลูกให้ดีที่สุด” และจุดมุ่งหมายจะมีผลอย่างยิ่งต่อเมื่อเราไม่ได้มีส่วนรวมกับที่ทำงานมากเพียงพอ การถูกเลิกจ้าง และที่สำคัญมันไม่ได้กระทบแค่เศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงภาวะจิตใจของเราด้วย.

ถ้าปราศจากจุดมุ่งหมายแล้วผู้คนจะดิ้นรน ทว่า คุณไม่จำเป็นต้องหาจุดมุ่งหมายในที่ทำงานก็ได้ แต่จุดมุ่งหมายมันทำให้คุณรู้สึกอยากใช้ชีวิตเพื่อสิ่งนั้นอย่างแท้จริง บางครั้งคำว่า ‘ทำไม’ ก็เป็นตัวผลักดันชีวิตคุณ.

3. ก้าวข้ามผ่าน (Transcendence)

สิ่งนี้จะเป็นการก้าวข้ามผ่านอัตลักษณ์ของตัวเราเอง มันเป็นความรู้สึกที่ยากจะเกิดขึ้นมาได้ ให้คุณลองคิดภาพตามว่า การก้าวข้ามผ่านคือ การยกระดับจิตใจขึ้นมาจากความวุ่นวายและความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน ความเป็นตัวตนนั้นได้จางหายไป มีแต่ความรู้สึกที่เชื่อมต่อผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน.

เธอได้คุยกับคนที่เขาสามารถก้าวข้าวผ่านได้โดยดูผลงานศิลปะ อีกคนหนึ่งคือการที่ได้ไปโบสถ์ สำหรับเธอแล้วจะรู้สึกได้ตอนเขียนหนังสือ มันเหมือนกับเธอรู้สึกว่าตัวตนเธอได้หายไปชั่วขณะหนึ่ง ภาวะการก้าวข้ามผ่านนี้จะเปลี่ยนความคิดคุณไปอย่างสิ้นเชิง.

มีการศึกษานึง ที่ให้นักเรียนมองต้นยูคาลิปตัสที่สูง 200 ฟุต เป็นเวลา 1 นาที มันทำให้เขาลดอัตตาตัวตนลงได้หลังจากที่มองต้นไม้ และทำให้มองเห็นโอกาสที่พวกเขาจะพอทำให้ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น.

4. การเล่าเรื่อง (Storytelling)

มันคือการที่คุณเล่าเรื่องตัวคุณเอง ที่มันเป็นตัวตนจริง ๆ ของคุณ สร้างการบรรยายจากเหตุการณ์ต่าง ๆ หลอมรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งการเล่าเรื่องจะทำให้คุณรู้จักตัวเองมากขึ้นว่าคุณมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เรื่องราวของชีวิตนั้นมันไม่ใช่เป็นรูปแบบขั้นตอน หรือเป็นฉาก ๆ แต่มันคือการที่คุณสามารถแก้ไขมัน เพิ่มอรรถรสให้กับชีวิต และที่สำคัญคุณสามารถพัฒนาประสบการณ์ที่คุณเจอได้.

เธอได้เจอกับผู้ชายที่ชื่อว่า Emeka Nnaka เขาเป็นนักฟุตบอลที่เจออุบัติเหตุมีผลทำให้เป็นอัมพาต หลังจากที่เขาได้รับบาดเจ็บ เขาบอกกับตัวเองว่า “ชีวิตนี้ได้เป็นนักฟุตบอลอย่างยอดเยี่ยมที่สุดแล้วล่ะ แต่ตอนนี้ดูผมสิ” ถ้าใครเคยมีชีวิตที่ดี แล้วกลับกลายมาเป็นแย่ ก็คงจะต้องเป็นโรคซึมเศร้า หรือไม่ก็เป็นโรควิตกกังวลต่าง ๆ นานา แต่กับเขาคนนี้แตกต่างจากคนอื่น ๆ เพราะเขารู้สึกแย่แค่ช่วงเวลานึงเท่านั้น เรื่องเล่าในชีวิตใหม่ของเขาได้ถือกำเนิดขึ้นว่า “ก่อนการได้รับบาดเจ็บ ชีวิตเขารู้สึกไร้จุดมุ่งหมายในชีวิต เขาเที่ยวหนักมาก และค่อนข้างที่จะเป็นคนเห็นแก่ตัวคนนึงเลยล่ะ แต่การที่ได้รับบาดเจ็บนั้นทำให้ตระหนักรู้ได้ว่า ผมสามารถที่จะเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้”.

นักจิตวิทยาที่ชื่อว่า Dan McAdams เรียกสิ่งนี้ว่า “เรื่องราวของการไถ่บาป” คือเรื่องราวจากแย่กลายเป็นดีขึ้นมา ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะกำหนดค่าของเรื่องราวใหม่ เช่น การไถ่บาป การเติบโต และความรัก.

คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องไปหานักบำบัดก็ได้ คุณสามารถบำบัดเรื่องราวในชีวิตได้ด้วยตัวของคุณเอง คุณจะกำหนดความหมายในชีวิตคุณว่าอย่างไรก็ได้ ไม่ว่าคุณจะสูญเสีย หรือคุณได้รับมันก็ตาม ถึงแม้ว่าความเจ็บปวดจะตราตรึงอยู่ในใจหลายปี แต่วันหนึ่งก็จะสามารถปรับเปลี่ยนความเจ็บปวดมาเป็นพลังได้.

เธอรู้สึกว่าโชคดีที่ชีวิตของเธอรายล้อมไปด้วย 4 หลัก ของการมีความหมายในชีวิต พ่อแม่เธอได้มีโอกาสไปยังศูนย์รวม Sufi จากที่ Montreal แล้วลัทธินี้คือการเต้นรำเพื่อจะเชื่อมต่อกับจิตวิญญาณ และบทกวี Rumi หลังจากนั้นก็ได้มีการฝึกฝนให้เพิ่มการมีคุณค่าต่อการใช้ชีวิตอยู่ สิ่งที่เธอกำลังจะสื่อก็คือไม่ว่าจะเป็นลัทธิ วัฒนธรรม หรือสังคมก็ตามแต่ ล้วนจำเป็นต้องมีที่พึ่งทางใจกันทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้คือหลักแห่งชีวิต.

เธอจำเรื่องราวทรงพลังตอนที่เธอได้อยู่กับพ่อ ไม่กี่เดือนหลังจากที่เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย พ่อของเธอได้รอดพ้นจากภาวะหัวใจวาย เธอจึงถามพ่อว่า “การที่พ่อได้เผชิญหน้ากับความตายมันรู้สึกอย่างไรบ้าง” แล้วพ่อของเธอก็ได้ตอบกลับมาว่า “พ่อต้องรอดมาให้ได้เพื่อจะมาเจอหน้าลูกทั้งสองคน” สิ่งนี้ทำให้พ่อของเธออยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป.

เมื่อตอนที่พ่อของเธอได้ถูกยาชาเข้าไป ทุกครั้งที่คิดก็จะคิดชื่อลูกของเขา พูดในใจคล้ายสวดมนต์ การที่ทำแบบนี้หมายถึงการที่พ่อของเธออยากมีชีวิตเพื่อความหมายอันสำคัญ การที่ทุกคนได้มีชีวิตอยู่ คุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาความหมายชีวิตว่าคืออะไร ความรักคือส่วนหนึ่งที่ทำให้เราอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ความสุขนั้นเข้ามาและก็ผ่านไป แต่ความหมายของการมีชีวิตอยู่จะอยู่ตราบนานเท่านาน.

ความรักคือสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เราอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป

Emily Esfahani Smith

สามารถซื้อหนังสือได้ที่

Amazon
Books Kinokuniya