ทั้งดีและแย่ไม่ใช่บทสรุปของชีวิต

ทั้งดีและแย่ไม่ใช่บทสรุปของชีวิต

ความคิดเห็นต่อการบรรยาย

มีเรื่องเล่าขานกันมาอย่างยาวนานในเรื่องของ “ชายผู้ทำม้าหาย” เพื่อนบ้านเขาบอกว่า “แย่จังเลยนะ” แต่ชาวนาคนนั้นกลับตอบอย่างง่ายดายว่า “ดีหรือแย่ ก็ยากที่จะบอกได้” หลังจากวันนั้นม้าที่หายไป กลับมาพร้อมกับม้าอีก 7 ตัว เพื่อนบ้านของชายคนนั้นก็ยังย้ำอีกว่า “ดีจังเลยนะ” แต่ชาวนาก็ตอบเหมือนเดิมอีกว่า “ดีหรือแย่ ก็ยากที่จะบอกได้” หลังจากวันนั้นลูกชายชาวนาก็ขี่ม้าออกไป แต่กลับมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทำให้ขาหัก เพื่อนบ้านก็พูดอีกว่า “โชคดีจังเลยนะ” ชาวนาก็ตอบกลับไปเหมือนเดิมว่า “ดีหรือแย่ ก็ยากที่จะบอกได้” แล้วเมื่อมีทหารที่กำลังจะเรียกคนไปเข้ากองทัพ แต่เห็นว่าลูกชายชาวนามีขาที่หักอยู่ทหารเหล่านั้นจึงเดินผ่านไป เพื่อนบ้านก็พูดอีกว่า “โห โชคดีมากเลยนะ” ชาวนาก็ตอบกลับไปเหมือนเช่นเคยว่า “ดีหรือแย่ ก็ยากที่จะบอกได้”.

เรื่องนี้ Lanier ได้ยินมานานกว่า 20 ปี และได้ยินมาหลายครั้งมาก มันทำให้รู้สึกว่าหลายครั้งที่ชีวิตไม่ได้ตัดสินว่าดีหรือแย่เพียงส่วนเดียว บางครั้งอาจจะเป็นเพราะเรายึดเหตุการณ์ช่วงโมเมนต์นั้นไว้มากเกินไปก็เลยทำให้เราแย่ก็ได้ และหลังจากที่ได้ให้กำเนิดลูกสาวคนหนึ่งมาชื่อว่า Fiona เธอยอมรับว่าทำทุกวิถีทางให้ลูกคลอดออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการคำนึงถึงโภชนาการต่าง ๆ ที่ได้รับประทานเข้าไป ก็เพื่อลูกน้อยที่อยู่ในท้องของตัวเธอเอง.

เมื่อได้ยินคำว่าลูกของเธอจะเกิดมามีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติมาก หมอก็ให้เหตุผลไว้ 2 ข้อ และสรุปสุดท้าย Fiona เกิดมาพร้อมกับโรค Wolf-Hirschhorn syndrome มันคือโรคที่โครโมโซมตัวที่ 4 หายไปกึ่งหนึ่ง แต่ Fiona ก็ได้กำเนิดขึ้นมาด้วยความสมบูรณ์ในแบบของเขาเอง ตอนที่สามีได้อุ้มลูกก็ได้เห็นว่า หลายครั้งมีการสบตาและก็ถือว่าเป็นการตื่นตัวที่ดีเยี่ยมเลย ถึงแม้ว่าจะมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าคนอื่น แต่เพื่อนบ้านก็ยังเห็นว่าเด็กยังมีพัฒนาการต่อเนื่องเรื่อย ๆ.

เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้เห็นว่า บางครั้งชีวิตมันไม่ได้บอกอย่างชัดเจนว่ามันจะแย่หรือดี คุณจะกำหนดค่ายังไงก็ได้ว่า ‘เรียนรู้ช้า’ ‘ออทิสติก’ หรือว่า ‘แตกต่าง’ มันคือหนทางที่หลากหลายอย่างยิ่ง แต่ทว่า พิมพ์เขียวของ Fiona ถูกสร้างมาอย่างยากที่จะพบเจอได้ และมันไม่ได้ออกแบบเหมือนคนอื่นทั่วไป มันนำซึ่งชีวิตที่หายากยิ่ง หลายครั้งที่จะเข้าใจคำว่าดีหรือแย่จริง ๆ จะต้องเรียนรู้อย่างแท้จริง และเปิดใจกับมันจริง ๆ.

เปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกับอาจจะไม่สามารถจะบอกได้เต็มปากว่านี่คือการเจริญเติบโตที่ดีเยี่ยม เพราะว่าอายุ 1 ขวบ Fiona ได้แค่กลิ้งไปกลิ้งมาแค่นั้น แต่เด็กคนอื่นสามารถคลานหรือทำอย่างอื่นได้แล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้คิดว่ามันแย่นะ เพราะว่า “ดีหรือแย่ ก็ยากที่จะบอกได้” ความคิดที่สวยงามมันผุดขึ้นมา มันซับซ้อน มันสนุกสนาน และมันก็ยาก มีหลากหลายคำมากที่ผุดขึ้นมา มีคนหลายคนที่เห็นลูกของเธอเป็นคนปกติทั่วไป มองจุดแข็งของเธอแทน แทนที่จะมองจุดที่ผิดปกติเหล่านั้น.

การสอนที่เห็นว่าดาวน์ซินโดรม หรือแม้กระทั่งคนที่นั่งรถเข็นก็ตามล้วนแต่เป็นการมองว่าเขาเหล่านั้นพิการ แต่เราสามารถมองได้นะว่านี่คือนางฟ้า คนเหล่านั้นคือคนที่พระเจ้าประทานมาให้ เรื่องเหล่านี้ทำให้มีความคิดที่เปลี่ยนไป เมื่ออายุของลูกเธอได้ 4 ขวบ เธอก็เหมือนกับเด็กคนอื่นทั่วไป เขาคือคนที่มาสอนสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น เขาคือของขวัญสำหรับคำถามที่มาตอกย้ำความเชื่อเดิมที่มี.

สุดท้ายนี้ก็ยังคงเชื่อว่า Fiona คือคนปกติทั่วไปเหมือนคนอื่นเขา.

ดีหรือแย่ใครเล่าจะเป็นคนกำหนดค่าเหล่านั้น นอกเสียจากความคิดของเราเอง

Heather Lanier