ความคิดเห็นต่อการบรรยาย
Stark ได้อธิบายถึงการทักทายคนแปลกหน้าว่า “เป็นไงบ้าง สบายดีไหม” คำพวกนี้เหมือนกับว่ามันจะไม่มีความหมายอะไรมากใช่ไหมล่ะ แต่ในบางกรณีก็เหมือนกับว่าเขาไม่ได้สนใจว่าเราเป็นยังไงจริง ๆ หรือว่าวันนี้เป็นวันที่ดีหรือแย่แค่ไหน ทว่า มันมีความหมายทางสังคม ซึ่งเธอก็ชื่นชอบการทักทายคนแปลกหน้าอยู่เสมอ ถึงแม้มันจะดูไม่ได้มีอะไรมากก็ตาม.
เมื่อ 7 ปีก่อน เธอได้เริ่มทำการรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้เจอมาว่าทำไม ในบางครั้งที่เธอมีประสบการณ์กับคนแปลกหน้านั้น อาจจะไม่ใช่จะเป็นเรื่องที่ดีเสมอไป แต่การที่ได้ทักทายกันมันทำให้ได้ปลดปล่อยความเป็นตัวเองออกมา.
ก็มีอยู่วันหนึ่งที่เธอได้ยืนเพื่อรอข้ามถนน แล้วเธอก็ยืนตรงท่อระบายน้ำเพราะมันจะทำให้ข้ามถนนได้เร็วขึ้น ซึ่งในตอนนั้นเองก็มีผู้ชายคนหนึ่งที่ดูท่าทางเหมือนออกมาจากภาพยนตร์ แถมยังใส่เสื้อโค้ทและสวมหมวก เขาพูดกับเธอว่า “อย่ายืนตรงนั้น คุณไม่ควรจะอยู่ตรงนี้ด้วยซ้ำ” มันฟังดูบ้าบอคอแตกมาก แต่เธอก็ถอยหลังไปเพื่อยืนอยู่ในทางเดินปกติ ชายนิรนามคนนั้นก็พูดอีกว่า “ดีมาก คุณไม่มีทางรู้หรอก ผมจะหันไปแล้วก็ทำเป็นเหมือนไม่มีไรเกิดขึ้น” นี่เป็นสิ่งที่ประหลาดมาก ๆ แต่มันก็เหมือนเป็นความหวังดีจากชายคนนี้.
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เธอก็ได้รู้สึกว่ามีตัวตนมากขึ้น และมีค่าพอให้คนแปลกหน้าเป็นห่วงเธอ เนื่องจากเธอก็ได้ยินมาหนาหูว่า คนแปลกหน้าเป็นคนอันตรายเราไม่ควรอยู่ใกล้คนแปลกหน้านะ แต่สำหรับเธอแล้วมันไม่จริงเสมอไป ก็เพราะคนแปลกหน้าบางคนก็อาจจะช่วยเหลือซึ่งกันและก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำไม่ดีต่อกันหรอก.
เธอมีลูกอายุ 4 ขวบ และทุกครั้งที่เธอได้ทักทายคนแปลกหน้า ลูกของเธอมักจะถามว่า ‘ทำไมต้องทักเขาด้วยคะ’ และถามต่อว่า “เรารู้จักพวกเขาด้วยเหรอคะแม่” เธอตอบกลับไปว่า “แม่ไม่รู้จักเขาหรอก แต่พวกเขาเป็นเพื่อนบ้านของเรา” ลูกเธอก็ถามต่อว่า “พวกเขาเป็นเพื่อนแม่เหรอคะ” เธอตอบกลับไปว่า “ไม่ใช่เพื่อนแม่หรอก แต่เราก็ควรต้องมีอัธยาศัยที่ดีต่อเขานะรู้ไหม” ซึ่งการเป็นผู้หญิงมันก็ดูอันตราย แต่เราก็ต้องรู้จักวางตัวให้ดีว่าคนแบบไหนสมควรให้ความใส่ใจ หรือคนแบบไหนไม่สมควรให้ความใส่ใจ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราต้องกลัวการทักทายคนแปลกหน้า.
มี 2 คุณประโยชน์ ที่เราจะใช้ความรู้สึกของเราแทนที่เราจะใช้ความกลัว.
1. มันทำให้เรารู้สึกถูกปลดปล่อยมากขึ้น (Liberates us)
ลองสังเกตว่าการที่เรามักจะตัดสินคนอื่นที่ภายนอก ทำให้เรารู้สึกว่าพวกเขาก็คือคนแปลกหน้าอยู่เสมอ เราแบ่งแยกเป็นสีผิว เชื้อชาติ และต่าง ๆ มากมาย เพื่อจะบอกว่าคนนี้แตกต่างกับเรา รวมถึงเรามักจะมองเขาแบบเหมารวมไม่ได้มองแบบปัจเจกชน ซึ่งเธอก็สำรวจมาว่า คนที่ไปท่องเที่ยวต่างประเทศส่วนใหญ่ที่มักจะไปแถบ Central Asia และ Africa แบบคนเดียว พวกเขาได้ไปต่างประเทศแบบเที่ยวคนเดียวจริง ๆ ไม่มีสายสัมพันธ์ใด ๆ ไม่มีเพื่อน ไม่มีคนที่สามารถติดต่อได้ด้วยซ้ำ ซึ่งการที่ไปแบบนี้ได้กลยุทธ์ที่ต้องนำมาใช้คือ เริ่มมองคนแปลกหน้าเป็นปัจเจกชนและไม่ตัดสินเขาจากภายนอก และทุกคนก็จะเริ่มมองคุณแบบนั้นเช่นกัน.
2. มันทำให้เรารู้สึกเหมือนมีความสัมพันธ์แบบประเดี๋ยวประด๋าว (Fleeting Intimacy)
คำอธิบายนี้มาจากนักสังคมวิทยาว่า มันช่วยเพิ่มความสั่นไหวของความรู้สึกและเพิ่มความหมายในชีวิตขึ้น เช่น เหตุการณ์ที่เธอเจอหนุ่มนิรนามเตือนเธอให้ถอยไปตรงทางเดิน หรือเมื่อเธอเริ่มต้นที่จะสนทนากับใครสักคนบนรถไฟระหว่างเดินทางไปยังที่ทำงาน สิ่งเหล่านี้อาจจะต่อยอดไปได้อีก ก็เมื่อนักวิจัยค้นพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่กลับรู้สึกสบายใจเมื่อคุยกับคนแปลกหน้า มากกว่าคุยกับคนในครอบครัวหรือคนที่รู้จัก รวมถึงจะทำให้เกิดความรู้สึกเข้าอกเข้าใจคนแปลกหน้ามากกว่าด้วย.
มี 2 เหตุผล ที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจมากยิ่งขึ้น เวลาที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า.
1. การรีบเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ (Quick interaction)
มันคือการที่คุณรีบเข้าไปทักทายคนแปลกหน้าได้เลย โดยที่คุณไม่ต้องคาดหวังถึงผลกระทบ ก็เพราะว่าการที่คุณจะทักคนแปลกหน้ามันไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายขนาดนั้น คุณไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงอะไรมาก ก็นั่นคือคนแปลกหน้าที่เจอกันรอบเดียวก็จากกันไป ดังนั้นมันไม่ยากเลยที่คุณจะเข้าหาเขาด้วยความจริงใจ.
2. มีโอกาสได้รับความสนใจมากขึ้น (Gets more interesting)
ให้สังเกตว่าทุกครั้งที่เราทักทายคนแปลกหน้า เราจะไม่คาดหวังให้พวกเขามาสนใจเรามาก แต่กลับได้ความสนใจจากเขาค่อนข้างเยอะ ก็เพราะหลายครั้งเราไม่ได้คาดหวังการรู้ใจจากคนแปลกหน้า ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาไม่ได้รู้จักอะไรเรา ต่างกับการคาดหวังกับคนที่เรารู้จัก ว่าเขาจะต้องสนใจเราสิ เขาจะต้องให้ความสำคัญกับเรานะ เธอได้เปรียบเทียบเหมือนกับเวลาที่เราอยู่ในงานสังสรรค์ เราก็มักจะให้เพื่อนหรือคนรักรู้ใจเราว่า “เมื่อไหร่จะสังเกตความรู้สึกว่าฉันอยากออกจากงานสังสรรค์ได้สักที”.
เธอได้พูดถึงวัฒนธรรมที่ไม่ได้กำหนดตายตัวขึ้นมา มันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยประกอบเข้าด้วยกัน เช่น ประเทศ วัฒนธรรม และที่อยู่อาศัย อย่างประเทศ Denmark ผู้คนส่วนมากก็มักจะรังเกียจที่จะทักทายคนแปลกหน้า ไม่ว่าจะเป็นการรอรถบัสขบวนถัดไปเพราะเหตุผลในเรื่องของการพูดว่า “ขอโทษด้วย” ซึ่งพวกเขามองว่ามันไม่จำเป็นต้องพูดหรืออะไรก็ตามแต่ รวมถึงเรื่องของการขอทางก็เช่นกัน อีกประเทศหนึ่งคือ Egypt ผู้คนส่วนมากจะมองว่าเป็นเรื่องที่เสียมารยาทที่เราจะเพิกเฉยคนแปลกหน้า รวมถึงเป็นประเทศที่ขนานนามว่ามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ประเทศหนึ่งของโลก คนแปลกหน้าที่นั่นสามารถถามไถ่กันเพื่อจะไปจิบน้ำ ถ้าคุณไปถามทางกับพวกเขา เขาก็จะชวนคุณไปที่บ้านเพื่อจะไปดื่มกาแฟกัน.
การมีกฎเหล่านี้ขึ้นมามันทำให้เกิดความแตกต่างของวัฒนธรรมขึ้น เช่น การที่คุณมีโอกาสชื่นชมรองเท้าของคนที่ทักทายด้วย มันเป็นการสร้างมิตรไมตรีต่อกันและกัน รวมถึงสามารถที่จะชวนคุยถึงเรื่องเด็กและสัตว์เลี้ยงก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะสิ่งนี้ทำให้เห็นมุมมองของหลากหลายมากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนเป็นทางเชื่อมให้เราสามารถเปิดใจเพื่อคุยกันอย่างเป็นกันเองด้วย.
สิ่งสุดท้ายที่เธออยากจะฝากเอาไว้คือความเปิดเผย มันคือจุดที่สำคัญเวลาเราสนทนากัน เราเริ่มต้นที่จะเล่าความจริง เรามีความจริงใจต่อเขาอย่างใจจริงและการที่เราสามารถเล่าเรื่องที่มันเป็นเรื่องส่วนตัวมาก ๆ ให้กับคนที่ไม่เคยเจอกัน นั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากในชีวิต ถ้าคุณไม่ทำแบบนี้ชีวิตจะเหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง.
เธอมักจะสอนเด็ก ๆ เสมอว่า “อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ถ้าเราสละเวลาบางส่วนเพื่อสอนตัวของเราเอง” ความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นในความคิดของเรา เราควรจะจัดการกับมันอย่างไรหรือเราควรจะปฏิเสธสิ่งที่เราคิดมาทั้งหมด เราอาจจะสามารถสร้างพื้นที่นี้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเองขึ้นมาก็ได้นะ.
เผชิญหน้าต่อความกลัวที่จะทักทายคนแปลกหน้า มันทำให้เรามีความสุขในชีวิตมากยิ่งขึ้น
Kio Stark