เมตตาไม่ได้อยู่ที่อารมณ์ของคุณ แต่สมองสร้างมันขึ้นมา

เมตตาไม่ได้อยู่ที่อารมณ์ของคุณ แต่สมองสร้างมันขึ้นมา

ความคิดเห็นต่อการบรรยาย

Barrett อธิบายถึงเหตุการณ์ของการระเบิดในงาน Boston Marathon ในปี 2013 ซึ่งศูนย์วิจัยของเธอก็อยู่ห่างไม่กี่ไมล์จากเหตุการณ์ครั้งนี้เช่นกัน คนที่เป็นมือวางระเบิดชื่อว่า Dzhokhar Tsarnaev’s ซึ่งถูกจับในเหตุการณ์ครั้งนั้น รวมถึงศาลตัดสินประหารชีวิต เธอก็ได้อธิบายต่อว่าการที่ตุลาการจะตัดสินประหารชีวิตหรือไม่ ต้องคำนึงถึงสีหน้าว่ารู้สึกผิดจริง ๆ ก่อนเป็นอันดับแรก แต่คนที่เป็นมือวางระเบิดก็อาจจะมีอารมณ์รู้สึกผิดเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าสีหน้าแววตาเขาอาจจะไม่ได้รู้สึกว่ามีการสำนักผิดใด ๆ ก็ตาม.

การที่เธอจะอธิบายเกี่ยวกับความรู้สึกผิดของคน ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามก็ไม่สามารถจะชี้ชัดได้ว่าคนนี้ไม่ได้รู้สึกผิด และไม่มีใครสามารถรู้ได้รวมถึงตัวเธอและก็คุณ แต่เป็นการมองว่าอะไรเป็นสิ่งที่เขารู้สึกจริง ๆ และหลายคนก็เข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ค่อนข้างมากทีเดียว เธอได้ศึกษาเรื่องอารมณ์มากว่า 25 ปี ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ มีการทดสอบเกี่ยวกับกล้ามเนื้อใบหน้าและรวมถึงร่างกายด้วย รวมถึงมีมากกว่าหลายพันหัวข้อ ที่เธอได้วิจัยเพื่อหาคำตอบของอารมณ์ดังกล่าว.

บางครั้งอาจจะดูเหมือนว่าอารมณ์ของคุณถูกฝังเอาไว้อยู่แล้ว มันเป็นแค่ตัวจุดชนวน และก็เกิดขึ้นกับคุณทันที หรือว่ามันถูกเชื่อมต่อก่อนที่คุณจะเกิดขึ้นมา หลังจากนั้นอารมณ์ก็สร้างวงจรของมันเอง สิ่งนี้ก็ไม่ใช่เช่นกัน.

แล้วคำถามก็คือ “อารมณ์มันมีจริงใช่ไหม” คำตอบก็คือ “อารมณ์คือผู้มาเยือน” ที่ประกอบด้วยเส้นประสาทในสมองหลายล้านเส้นสายเพื่อให้อารมณ์เกิดขึ้นมา อารมณ์นี่แหละที่เราสามารถควบคุมมันได้มากกว่าที่เราจะคาดการณ์เอาไว้ เธอก็เน้นย้ำว่าถ้าเธอไม่ได้พิสูจน์กับตัวของเธอเอง เธอก็ไม่มีวันเชื่อเช่นเดียวกันว่า อารมณ์สามารถควบคุมได้.

1. อารมณ์ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เพราะมันคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา (Emotions are not built in, they are just built)

เธอได้แสดงรูปขาวและดำที่สลับกันไปมาให้เห็น ซึ่งการที่สมองจะไม่สามารถอธิบายได้ว่านี่คือรูปภาพของอะไร แต่สมองนั้นกำลังจะกลั่นกรองผ่านประสบการณ์ที่เราเคยเจอมา สร้างการการสุ่มเดามากกว่าพันครั้งในเวลาเดียวกัน ให้น้ำหนักกับความน่าจะเป็น เพื่อที่จะให้คำตอบเกี่ยวกับคำถามว่า “รูปนี้เหมือนกับอะไรมากที่สุด” มันคือคำถามต่อไปว่า “มันเหมือนกับอะไรในประสบการณ์ที่ผ่านมามากที่สุดมากกว่า”.

แล้วถ้าประสบการณ์ในอดีตมันไม่สามารถบอกได้ว่ารูปขาวและดำคือรูปอะไร ภาวะนี้เรียกว่า Experiential Blindness หลังจากนั้นเธอก็ได้เผยรูปงูที่เป็นภาพจริงของภาพขาวและดำ ซึ่งเธออธิบายต่อว่า หลังจากที่ทุกคนได้เห็นภาพขาวและดำต่อจากนี้ไป คุณจะมองภาพนั้นเป็นเหมือนงู ซึ่งนั่นไม่ใช่ภาพของงูจริง ๆ มันคล้ายกับอาการประสาทหลอน แต่ในทางประสาทวิทยาเรียกอาการนี้ว่า ‘การทำนาย’.

การทำนายคือการที่สมองทำงานของมันแบบนั้น มันเป็นปกติที่สมองจะทำนายสิ่งต่าง ๆ อยู่แล้ว ซึ่งสมองจะทำนายจากประสบการณ์ที่คุณเคยเจอ ทุกสิ่งที่คุณได้รับ รวมถึงสามารถที่จะทำนายในสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากพูดคำว่า “เธอกำลังจะพูดออกมาจาก…” ปากของเธอ การทำนายนั้นจึงเป็นสิ่งแรกที่สมองนั้นพยายามจะทำนายให้ตรงกับสิ่งที่เคยเจอมากที่สุด การจะตัดสินคนที่ภายนอกจึงเป็นเรื่องที่สมองนั้นถนัดอยู่แล้ว.

ที่จริงแล้วการที่สมองนั้นทำนายเพื่อให้เชื่อมโยงกับความคล้ายคลึงก็ได้เช่นกัน การที่ใบหน้าเย็นชาอาจจะไม่ใช่ว่าไม่รู้สึกผิด แต่อาจจะเป็นเพราะการจำนนต่อเหตุการณ์ที่ได้ทำลงไปก็เป็นได้.

2. อารมณ์ของคุณจะเป็นตัววัดว่า คนอื่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับความคิดคุณหรือไม่ (The emotions you seem to detect in other people are partly inside your own head)

ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใด เช่น ห้องพิจารณาคดี ห้องเรียน ห้องนอน หรือแม้กระทั่งห้องประชุมคณะกรรมการก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Google หรือ Facebook ได้มีการลงทุนวิจัยเกี่ยวกับการสร้างเครื่องตรวจจับอารมณ์ แต่พื้นฐานของการตรวจจับอารมณ์ทางสีหน้าไม่ใช่แค่ทางกายอย่างเดียว เพราะว่าการที่มนุษย์สามารถเรียนรู้จากอารมณ์ได้ว่า การยิ้มอาจจะยิ้มเพราะเราฝืนยิ้ม การร้องไห้อาจจะร้องไห้เพราะมีความสุข และใบหน้าเย็นชาอาจจะหมายถึงเราโกรธฝ่ายตรงข้ามอยู่.

อารมณ์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ตอนเด็ก อาจจะมีความสงบ ความตื่นเต้น ความกระฉับกระเฉง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวอารมณ์ ที่แท้จริงมันเป็นแค่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเราเท่านั้น แต่การจดจำอารมณ์พวกนี้เข้ากับเหตุการณ์ที่ได้เจอมา ก็จะเป็นการทำนายไปยังอนาคตว่า ถ้าเราเจอเหตุการณ์แบบนี้ เลยต้องมีอารมณ์แบบนี้.

ยกตัวอย่างเช่น การมองรูปภาพของร้านเบเกอรี่ ที่ทำให้นึกถึงกลิ่นหอมกรุ่นจากเตาที่มีทั้งขนมปังและคุกกี้ หลังจากนั้นท้องไส้ก็จะปั่นป่วนเพราะความอยากกินขนม และในทางกลับกันถ้าคุณมีประสบการณ์ท้องไส้ปั่นป่วนจากการเข้าไปโรงพยาบาล หรือเห็นภาพ X-ray ก็จะทำให้เหตุผลของการท้องไส้ปั่นป่วนนั้นแปรเปลี่ยนจากความหิวเป็นความกลัวได้ เพราะเนื่องจากต่างประสบการณ์กันก็ทำให้ความหมายนั้นเปลี่ยนไป.

3. อารมณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ และมันถูกสร้างมาจากคุณ (Emotions that seem to happen to you are made by you)

ความเมตตาที่ถูกฝังอยู่ในบรรพบุรุษมนุษย์นั้น ไม่ใช่ความจริงเลยแม้แต่น้อย เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้มากกว่าที่เราคิดไว้มาก แต่เธอไม่ได้หมายความว่าคุณจะดีดนิ้วแล้ว อารมณ์คุณจะเปลี่ยนไปเหมือนคุณเปลี่ยนเสื้อ สมองนั้นมันคือสายใยที่เชื่อมต่อกัน ถ้าคุณเปลี่ยนส่วนผสมในการเชื่อมต่อไปยังอารมณ์ได้ คุณก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในชีวิตได้ ให้เริ่มต้นที่จะเปลี่ยนส่วนผสมตั้งแต่วันนี้ อนาคตก็ย่อมเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน.

4. มันคือสถาปัตยกรรมของประสบการณ์ (An Architect of your experience)

ทุกคนน่าจะเคยมีประสบการณ์ในเรื่องกังวลก่อนเข้าห้องสอบ และจะมีบางคนที่ไม่สามารถสอบได้เลยก็เพราะพวกเขามีความกังวลมากเป็นพิเศษ พอถึงเวลาก่อนสอบก็จะมีอาการหัวใจเต้นแรง เหงื่อออกตามมือ ซึ่งการที่หัวใจเต้นแรงมันไม่ใช่อาการของความกังวลเพียงอย่างเดียว แต่มันหมายถึงการที่คุณเคยมีประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดีเกี่ยวกับการสอบ หรือว่าคุณกำลังเผชิญหน้าคนกว่าร้อยคนบนเวที ซึ่งเป็นเหมือนที่เดียวกับการถ่ายทำอยู่.

ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อตอนที่นักเรียนได้เรียนรู้ที่จะกำหนดการตื่นตัว แทนการเป็นกังวล พวกเขากลับทำคะแนนสอบได้ดีกว่า และการกำหนดค่าใหม่เข้าไปในสมองจะทำให้การทำนายในอนาคตแตกต่างจากเดิม ซึ่งจะทำให้พวกเขาเข้าใจถึงรูปแบบการบินของผีเสื้อ ถ้าเกิดว่าพวกเขาสามารถทำอย่างนี้ต่อกันไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่การสอบผ่านเพียงเท่านั้น แต่พวกเขาสามารถจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยได้ด้วย.

ประสบการณ์ที่ผ่านมา เคยไหมว่าคุณรู้สึกว่าวันนี้เป็นวันที่เลวร้ายมาก คุณรู้สึกห่อเหี่ยวใจตั้งแต่ตื่นนอน รู้สึกเศร้าหมองกับตัวเอง และก็ไปรับลูกที่โรงเรียนสาย ทั้งหลายเหล่านี้ทำให้เราพูดกับตัวเองว่าวันนี้ฉันเป็นอะไรไป เธอได้บอกว่าการที่คุณรู้สึกแบบนี้เพราะว่า คุณไม่รู้ว่าคุณควรจะต้องทำอะไรต่อไป อาการของจิตใจฟุ้งซ่านก็คือการทำนายเช่นเดียวกัน สมองคุณจะพยายามค้นหาคำอธิบายว่า ที่คุณรู้สึกกับตัวเองแบบนี้ หมายความว่าอะไรกันแน่ ซึ่งมันก็คล้ายกับการมองภาพขาวและดำ.

อาการทางกายอาจจะมีผลต่อความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาก็ได้ เพราะบางทีคุณอาจจะเหนื่อยล้า บางทีคุณอาจจะนอนไม่พอ บางทีคุณอาจจะหิวข้าว หรือว่าบางทีคุณอาจจะหิวน้ำ เธอแนะนำว่า ถ้าคุณมีความรู้สึกมีอะไรมากวนใจอย่างมหาศาล ให้ถามตัวเองว่า ปัญหาเรื่องความกังวลมันมาจากสิ่งภายนอกอย่างเดียวหรือเปล่า ถ้ามันสามารถพอที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกแย่ ให้กลายมาเป็นแค่รู้สึกแย่จะได้ไหม.

เธอบอกว่าสิ่งที่เธอแนะนำไม่ใช่ว่าเป็นการฝึกพลังใจของ Jedi ที่พูดกับตัวเองว่าเราไม่ได้กำลังถูกกดดัน ถูกกังวล หรือว่าปัญหาอื่น ๆ ซึ่งเธอก็เน้นย้ำว่า เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้มากกว่าที่เราคิดเอาไว้ เหมือนกับการฝึกขับรถที่ช่วงแรก ๆ ก็จะขับไม่ถนัด แต่พอขับไปสักพักก็เริ่มรู้สึกว่า การขับรถเป็นไปโดยอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งการที่เรารู้จักที่จะควบคุมอารมณ์มากขึ้น อารมณ์ก็จะกลายมาเป็นกิจวัตรประจำวันได้มากยิ่งขึ้น.

5. ความรับผิดชอบ (Responsibility)

ถ้าความเมตตามันไม่ใช่สิ่งที่เป็นค่าเริ่มต้น แล้วอะไรที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมเหล่านั้น รวมถึงอะไรที่เป็นตัวกำหนดให้เราทำสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นล่ะ คำตอบก็คือตัวคุณเองทั้งหมด ทว่า มันไม่ใช่การที่คุณจะไปก่นด่าอารมณ์เหล่านั้น แต่ให้เรียนรู้ว่าเราคือคนเดียว และคนสุดท้ายที่จะเป็นคนที่เปลี่ยนแปลงอารมณ์นั้นได้ สุดท้ายนี้เธอได้บอกว่ามันยากที่จะยอมรับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่า อารมณ์นั้นถูกสร้างจากเราเองทั้งหมด แต่ยังไงแล้วเราก็ต้องเป็นคนที่รับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด การที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองตั้งแต่วันนี้ จะทำให้อนาคตนั้นสดใสขึ้นมาได้.

คุณสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ได้มากกว่าที่คุณคิดเอาไว้

Lisa Feldman Barrett

สามารถซื้อหนังสือได้ที่

Amazon