ความคิดเห็นต่อการบรรยาย
Csikszentmihalyi เกิดในยุโรปและเติบโตผ่านการเผชิญกับสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเขาได้ตระหนักรู้ว่ามีน้อยคนมากที่สามารถต่อกรกับความเลวร้ายในชีวิตได้ พวกเขามีชีวิตที่ไม่ปกติ รวมถึงไม่ค่อยมีความพึงพอใจในชีวิตเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน บ้าน หรือเรื่องอื่น ๆ และคำถามของเขาก็คือ “อะไรทำให้ชีวิตมีคุณค่าต่อการดำรงอยู่”.
เมื่อตอนวัยเยาว์เขาได้เริ่มอ่านปรัชญา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวศาสนาอะไรก็ตามแต่ก็เข้าร่วมเช่นกัน ซึ่งสามารถตอบคำถามในสิ่งที่เขาครุ่นคิดได้อยู่บ้าง จนกระทั่งมาเจอจิตวิทยาพอดีและด้วยเหตุการณ์บังเอิญที่เขาได้เข้าร่วมการพูดหัวข้อหนึ่งแถวกลางเมือง Zurich มันเกี่ยวกับหัวข้อยานอวกาศ.
ทว่า ในการสัมมนานี้ไม่ได้พูดถึงมนุษย์ตัวเล็กสีเขียวเหมือนอย่างที่คิดเอาไว้เลย แต่บุคคลนั้นพูดถึงจิตใจของคนในยุโรปที่ทุกข์ทรมานเพราะสงคราม และพยายามสร้างจินตนาการถึงเรื่องยานอวกาศ เพื่อเป็นการแสดงถึงความสงบที่คนยุโรปปรารถนาให้เกิดขึ้นหลังจากความโกลาหลของสงคราม.
หลังจากนั้นเขาก็ได้ศึกษาผลงานของบุคคลนี้มาตลอดและไม่รู้มาก่อนเลยว่าบุคคลนั้นคือ Carl Jung มันทำให้เขาตัดสินใจมาเรียนต่อที่อเมริกา ซึ่งมีผลวิจัยที่ชี้ชัดกว่าคนในอเมริกา 30% ตั้งแต่ปี 1956 เขาเหล่านั้นไม่ได้มีความสุขเพิ่มขึ้นเลยจนถึงกระทั่งปี 1998 และไม่เพียงความสุขที่ไม่เพิ่มขึ้นแต่วิจัยนี้บ่งบอกว่า ถึงแม้จะมีเงินมากขึ้นเพียงใดก็ตามกลับไม่พบว่าคนเหล่านี้มีความสุขมากขึ้นตามแม้แต่น้อย.
นัยที่ว่าคนจะมีความทุกข์ถ้าขาดเงินเพื่อซื้อของที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน แต่กลับกลายเป็นว่าคนที่มีปัจจัยพื้นฐานเพียงพอแล้วหรือว่ามากกว่าที่จำเป็นด้วยซ้ำ ผลกลับไม่ได้ทำให้มีความสุขเพิ่มมากขึ้นเลย เมื่อเขาเข้าใจว่าวิจัยที่ได้สร้างมามีความสอดคล้องกับความคิดจึงเริ่มจะตั้งคำถามว่า “อะไรในชีวิตของเราที่จะทำให้มีความสุขได้อย่างแท้จริง”.
แล้วอะไรล่ะที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกว่า ชีวิตนี้มันมีคุณค่ามากขึ้นและรู้สึกว่ามันมีความหมายเพียงพอต่อการกระทำสิ่งนึงไปในชีวิต ความหมายของคำว่า ecstasy ในภาษากรีกหมายความว่า “ยืนอยู่ข้างสิ่งหนึ่งอย่างง่ายดาย” มันคือความรู้สึกที่เป็นการกระทำที่ไม่ปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน เมื่อเราเห็นวัฒนธรรมของแต่ละชาติเราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เรียกว่าการไปสู่จุดสุดยอดไม่ใช่ชีวิตประจำวันเพียงแค่นั้น แต่มันคือความปลาบปลื้มยินดีต่อชีวิตประจำวัน.
ถ้าพูดอีกแง่มุมหนึ่งมันคือการที่เราเข้าสู่อีกสภาวะหนึ่งโดยที่เราไม่รู้ตัว มันมีความเป็นตัวเองมากยิ่งขึ้นรวมถึงทำให้สิ่งนั้นไหลลื่นโดยที่เราไม่ต้องไปบังคับอะไรมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การที่เราตั้งใจทำงานสักอย่างหนึ่ง เราไม่รู้สึกเลยว่าเรามีความหิว ความเบื่อ หรือความรู้สึกอื่น ๆ เข้ามาแทรกราวกับว่าตัวเรานั้นหายไปจากตรงนั้นเลย การดำรงอยู่ ณ ขณะนั้นหายไปชั่วขณะหนึ่ง.
การใช้เวลายาวนานถึง 10 ปี ถึงจะสามารถประพันธ์เพลงให้รู้สึกว่าไพเราะได้ เพราะเราจำเป็นจะต้องปรับแต่งมันอยู่เรื่อย ๆ จนกว่ามันจะสมบูรณ์แบบ ผู้คนจำนวนมากที่เขาได้ไปสัมภาษณ์อธิบายถึงสภาวะนี้ว่ามันเป็นธรรมชาติที่เราจะเข้าสู่กระแสได้นั่นเรียกว่า “การเข้าสู่กระแสประสบการณ์”.
การเขียนบทกวีของนักเรียนของเขาก็มีสภาวะของการปลาบปลื้มยินดีในการเขียนด้วย ทุกอย่างมาอย่างไหลลื่นไปหมดเปรียบเหมือนสิ่งที่ Albert Einstein ได้คิดภาพสมการของทฤษฎีสัมพันธภาพ และมีหลายบทความ หลายการสัมภาษณ์ที่ทำให้เขารู้สึกว่าการที่เราจะอธิบายสิ่งหนึ่งได้อย่างยาวเหยียด เราจะต้องประกอบด้วยสภาวะปลาบปลื้มยินดีด้วยและมันก็ส่งผลให้เข้าสู่กระแสต่อไป.
นี่คือความรู้สึกของการที่เราได้เข้าสู่กระแสเป็นอย่างไร มีกลุ่มตัวอย่างกว่า 8,000 คน ที่ได้รับการสัมภาษณ์ในการวิจัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักบวช แม่ชี นักปีนเขา และคนเลี้ยงแกะ โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมใด ๆ เลย รวมถึงการศึกษาด้วย และนี่คือสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นได้โฟกัสกับมัน ได้ตระหนักรู้ที่นำไปสู่สภาวะปลาบปลื้มยินดี และสภาวะความชัดแจ้ง.
ความรู้สึกสัมผัสต่อการเข้าสู่กระแสเป็นอย่างไร (How does it feel to be in flow?)
1. สามารถหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่ทำอยู่ได้ดีเยี่ยม โฟกัสและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า (Completely involved in what we are doing – focused, concentrated)
2. สามารถเข้าสู่สภาวะปลาบปลื้มยินดีในชีวิตประจำวันต่อสิ่งรอบข้าง (A sense of ecstasy – of being outside everyday reality)
3. สามารถมีความชัดแจ้งภายในอย่างยอดเยี่ยม รวมถึงตระหนักรู้ว่าเราต้องทำอะไรให้มันสำเร็จ และทำอย่างไรให้ออกมาดีที่สุด (Great inner clarity – knowing what needs to be done, and how well are doing)
4. สามารถตระหนักรู้ว่าการกระทำไหนมีความเป็นไปได้ ดึงทักษะออกมาใช้ให้เพียงพอต่องานนั้น ๆ (Knowing that the activity is doable – that our skills are adequate to the task)
5. สามารถเข้าสู่สภาวะความสงบภายใน โดยที่ไม่กังวลถึงตัวเองมากนักและมีความรู้สึกเติบโตขึ้นกว่าเส้นกั้นของอัตตาตัวตน (A sense of serenity – no worries about oneself, and a feeling of growing beyond the boundaries of the ego)
6. สามารถเป็นหนึ่งเดียวกับเวลาได้ การพินิจพิจารณาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ ขณะนั้น ให้เสมือนว่าจากชั่วโมงกลายเป็นนาทีโดยปริยาย (Timelessness – thoroughly focused on the present, hours seem to pass by in minutes)
7. สามารถดึงความเป็นเนื้อแท้ให้ก่อเกิดแรงผลักดันขึ้น อะไรก็ตามที่ถูกสร้างขึ้นมาในขณะที่เข้าสู่กระแสแล้วนั้นมันจะกลายมาเป็นรางวัลด้วยตัวของมันเอง (Intrinsic motivation – whatever produces flow becomes its own reward)
เราสามารถหาสาเหตุได้ว่าทำไมพวกเขาถึงมีความสุขในชีวิตมากขึ้น เพราะอะไรถึงสามารถเข้าสู่สภาวะเหล่านั้นได้ สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนมากคือพวกเขาสามารถสัมผัสถึงโมเมนต์ได้ มันเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าได้และก็จะรู้สึกเหมือนกันด้วย.
แผนผังแสดงถึงทักษะต่าง ๆ ที่ยากและง่าย ในการจะเข้าสู่กระแสได้จริง ๆ นั้นจะต้องเพิ่มความท้าทายมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาทักษะมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย สิ่งที่ใกล้การเข้าสู่กระแสมากที่สุดในฝั่งท้าทายคือการเร้าอารมณ์ (Arousal) และในฝั่งทักษะคือการควบคุม (Control).
คำถามสุดท้ายที่ทิ้งท้ายเอาไว้ก็คือ “เราใช้ชีวิตประจำวันอย่างไรให้เพิ่มโอกาสในการเข้าสู่กระแสมากยิ่งขึ้น”.
การเข้าสู่กระแส คือการปลดแอกพันธนาการอย่างแท้จริง
Mihaly Csikszentmihalyi