ความคิดเห็นต่อการบรรยาย
Bregman มีคำถามให้กับทุกคนว่า “ทำไมคนที่ยากจนมักจะมีการตัดสินใจที่ไม่ค่อยดีด้วยเช่นกัน” เขารู้ดีว่า คำถามนี้ค่อนข้างเป็นคำถามที่รุนแรงพอสมควร แต่อยากให้ทุกคนลองดูที่ข้อมูลดีกว่า ผู้คนที่ยากจนนั้นจะมีโอกาสยืมเงินมากกว่า ออมเงินน้อยกว่า สูบบุหรี่มากกว่า ออกกำลังกายน้อยกว่า ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า และกินอาหารที่มีประโยชน์น้อยกว่าด้วย ทำไมเป็นแบบนั้นล่ะ.
คำอธิบายพื้นฐานนั้น ครั้งหนึ่งได้ถูกกล่าวสรุปโดยนายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่ชื่อว่า Margaret Thatcher และเธอก็ได้กล่าวไว้ว่า ความยากจนนั้นคือ “ข้อบกพร่องทางบุคลิกภาพ” มันก็คือความขาดแคลนตัวตนนั่นแหละ ในความหมายพื้น ๆ แล้วตอนนี้เขาก็มั่นใจว่า มีคนไม่มากหรอกที่จะเป็นคนที่ขวานผ่าซาก แต่ไอเดียนี้ย่อมมีความผิดพลาดต่อคนยากจนเหล่านั้น และมันไม่ใช่แค่แต่เธอคนนี้เท่านั้น บางคนในที่นี่ก็เชื่อว่า คนที่ยากจนควรจะมีความรับผิดชอบมากกว่านี้สิ สำหรับความผิดพลาดที่พวกเขาได้กระทำมัน.
ทว่า คนอื่น ๆ อาจจะถกเถียงกันไปว่า เราควรจะช่วยให้เขามีการตัดสินใจที่ดีขึ้นกว่านี้สิ แต่ภายใต้สมมติฐานเหล่านั้นล้วนคล้ายกันอยู่ มีบางสิ่งที่บกพร่องในพวกเขาเหล่านั้น แล้วถ้าคุณสามารถเปลี่ยนพวกเขาได้ล่ะ ถ้าคุณสามารถสอนให้พวกเขาว่า ควรจะใช้ชีวิตอย่างไร ถ้าพวกเขาจะทำได้เพียงแค่รับฟัง และเขากล่าวอย่างจริงใจเลยว่า นี่มันเป็นสิ่งที่เขาได้คิดไว้นานมาแล้ว.
มันเป็นเวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี ที่เขานั้นได้ค้นคว้าหาคำตอบเหล่านี้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาได้คิด ได้รู้ เกี่ยวกับความยากจนนั้นเป็นสิ่งที่ผิดทั้งหมด จุดเริ่มต้นมันอยู่ตรงที่ เมื่อตอนที่เขาได้สะดุดตากับกระดาษอยู่กองหนึ่ง เขียนโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งพวกเขาได้ท่องเที่ยวไปมากกว่า 8,000 ไมล์ เดินทางไปยังประเทศ India มันเป็นการศึกษาที่น่าทึ่งเอามาก ๆ และการทดสอบนี้ถูกทดสอบผ่านโดยคนสวนเก็บอ้อย คุณควรรู้ว่าคนสวนเหล่านั้นจะเก็บอ้อยได้เพียง 60% ของรายได้ทั้งปีมันเป็นเพียงแค่ครั้งเดียวต่อปีเท่านั้น และพวกเขาจะได้เงินทันทีหลังจากที่เก็บอ้อยได้.
แล้วการศึกษานี้จะหมายถึงว่า คนสวนเหล่านั้นค่อนข้างจะมีชีวิตที่ยากจนในช่วงหนึ่งของปีนั้น ๆ และก็ร่ำรวยอีกช่วงหนึ่ง ซึ่งมีนักวิจัยคนหนึ่งได้ให้คนสวนเหล่านั้นทำการประเมิน IQ ก่อนและหลังจากที่ได้เก็บอ้อย แล้วอะไรล่ะที่พวกเขาได้จากคนสวน มันทำให้ความคิดของเขาสับสนมากกว่าเดิมอีก ก็คือคนสวนนั้นจะทำคะแนนได้แย่ ก่อนหน้าที่จะเก็บอ้อย ผลกระทบที่ได้จากการมีชีวิตอยู่อย่างยากจนนั้น มันปรากฏว่า มีผลทำให้สูญเสีย IQ ไป 14 คะแนน.
แล้วตอนนี้เขาก็จะให้คุณลองคิดดูว่า นั่นจะหมายถึงการเปรียบเทียบระหว่างการสูญเสียการนอนหลับไปในแต่ละค่ำคืนด้วย หรือผลกระทบจากการเสพติดแอลกอฮอล์ แล้วหลังจากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา เขาก็ได้ยินบางสิ่งจากคนนึงที่ชื่อว่า Eldar Shafir ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย Princeton University รวมถึงเขาก็เป็นคนริเริ่มการศึกษานี้ด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มายังประเทศ Holland ซึ่งเป็นประเทศที่เขาอาศัยอยู่.
เราเจอกันที่ Amsterdam ที่จะคุยเกี่ยวกับการทฤษฎีใหม่ของการปฏิวัติความยากจน และเขาก็ต้องการสรุปใจความเพียงแค่ 2 คำเท่านั้นคือ.
Scarcity Mentality (ความขาดแคลนทางภาวะจิตใจ)
มันปรากฏชัดเจนว่า ผู้คนมากมายมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป เมื่อพวกเขารับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ขาดแคลนนั้น ๆ แต่ว่ามันอาจจะไม่ได้มีความสลักสำคัญเท่าไรนักหรอก ถ้าหากว่ามันไม่มีเวลา เงิน หรืออาหารที่เพียงพอ เราทุกคนน่าจะเข้าใจความรู้สึกนี้กันดีอยู่แล้ว ก็เมื่อไรก็ตามที่เรามีสิ่งที่ต้องทำอยู่มากมาย หรือว่าเมื่อไรก็ตามที่คุณต้องเลื่อนเวลาอาหารเที่ยงออกไป ต่อมาน้ำตาลในเลือดคุณก็จะจมดิ่งลงไปอย่างรวดเร็ว มันส่งผลให้การโฟกัสถูกลดทอนลงไปอีก และก็ทำให้เวียนหัวในทันที ไม่ว่าจะเป็นแซนด์วิชในมือคุณ ณ ตอนนี้ และคุณก็กำลังจะมีประชุมอีกภายใน 5 นาทีถัดไป หรือว่าใบเสร็จที่คุณจำเป็นต้องจ่ายในวันถัดไป.
มุมมองความคิดในระยะยาวนั้นได้ออกจากหน้าต่างไปแล้ว คุณสามารถที่จะเปรียบเทียบเรื่องนี้ได้กับ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่นั้นที่ได้ทำงาน 10 โปรแกรมพร้อมกันภายในครั้งเดียว มันจะทำให้ระบบประมวลผลของการทำงานนั้นช้าลงไปเรื่อย ๆ รวมถึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาได้ ในที่สุดระบบก็จะค้างไปเลย ซึ่งมันไม่ใช่เลยที่จะไปบอกว่าคอมพิวเตอร์มันไม่ดี แต่มันเป็นสิ่งที่คุณใช้งานเกินกว่าที่คุณจะรับมันไหวมากกว่า.
แล้วในคนยากจนนั้นก็เป็นปัญหาเดียวกัน พวกเขาไม่ได้ตัดสินใจอะไรทึ่ม ๆ เพียงเพราะพวกเขาเป็นคนโง่ แต่เพราะว่าพวกเขาใช้ชีวิตอยู่ในบริบทที่ทุกคนนั้นตัดสินใจแบบทึ่ม ๆ เต็มไปหมด แล้วทันใดนั้นเขาก็ได้เข้าใจว่า ทำไมโปรแกรมการยับยั้งความยากจนที่มีอยู่มากมายนั้น ไม่ได้ผลอะไรเลยทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในการศึกษานั้น มักจะไม่ได้ผลอย่างสิ้นเชิง ก็เพราะว่าความยากจนนั้นไม่ใช่ความขาดแคลนทางความรู้.
การวิเคราะห์ล่าสุดกว่า 201 การทดสอบ คือระดับประสิทธิภาพของการฝึกฝนการจัดการเงิน ได้ข้อสรุปมาว่า การจัดการเงินนั้นแทบจะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อชีวิตเลย แล้วตอนนี้อย่าเพิ่งมองเขาผิดไป นี่ไม่ได้หมายถึงว่าคนยากจนนั้นจะไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้นะ พวกเขาสามารถฉลาดขึ้นได้อย่างแน่นอน แต่มันก็ยังไม่พออยู่ดี เหมือนอย่างที่ศาสตราจารย์ Eldar Shafir ได้กล่าวไว้ว่า “เหมือนกับว่าเราสอนให้พวกเขาว่ายน้ำได้ และหลังจากนั้นเราก็โยนเขาเหล่านั้นลงไปในทะเลอันเชี่ยวกราก”.
ซึ่งเขายังจำประโยคนี้ได้อย่างดีเยี่ยม มันดูงงงวย และมันกระหน่ำมาที่เขาว่า ถ้าเราสามารถหาหนทางออกได้ก่อนหน้านี้สักหนึ่งทศวรรษ เขาหมายถึงว่า ถ้านักจิตวิทยาทุกคน ไม่ได้ต้องการให้สแกนสมองอันซับซ้อนล่ะ พวกเขาแค่ต้องการวัดค่า IQ ของคนสวนเท่านั้นเอง อนึ่ง การประเมิน IQ ก็มีมามากกว่า 100 ปีแล้วด้วยซ้ำไป จริง ๆ แล้วเขาก็ได้ตระหนักว่า เขาได้เคยอ่านเกี่ยวกับจิตวิทยาความยากจนมาก่อนหน้านี้อยู่เหมือนกัน.
คนเขียนที่ชื่อว่า George Orwell เป็นนักเขียนที่ยอดเยี่ยมที่สุดของยุคนี้เลยก็ว่าได้ เพราะเขาได้ประสบกับความยากจนเป็นคนแรก ๆ ในยุค 1920s ที่เรียกว่า “แก่นแท้ของความยากจน” และเขียนถึงมันหลังจากนั้นต่อมาว่า “มันจะทำลายล้างอนาคตอย่างสูญสิ้น” รวมถึงได้เขียนคำคมหนึ่งเอาไว้อย่างน่าทึ่งมากคือ “ผู้คนนั้นจะเห็นสิ่งนั้นเป็นของตาย พวกเขาเหล่านั้นมีสิทธิอันชอบธรรมในการสั่งสอนคุณ ภาวนาให้คุณ จนกว่ารายได้ของคุณจะตกต่ำลงถึงจุดที่น่าพอใจแล้ว” แล้วตอนนี้ คำเหล่านั้นได้ก้องกังวานจนถึงทุกวันนี้.
คำถามที่สำคัญคือ เราจะสามารถทำอะไรได้บ้างไหม นักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ได้มีการแก้ปัญหาของแขนเสื้อ พวกเราสามารถช่วยคนยากจนได้ด้วยการที่ให้เขาทำงานเอกสาร หรือส่งข้อความหาพวกเขาเพื่อที่จะแจ้งเตือนว่า อย่าลืมจ่ายใบเสร็จที่ค้างชำระด้วยนะ ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้รับความชื่นชอบมาก ๆ จากนักการเมืองสมัยใหม่ ก็เพราะว่าเขาไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลยยังไงล่ะ.
ซึ่งเขาคิดหาทางแก้ปัญหาได้ ก็คือการสร้างสัญลักษณ์ของยุคสมัยขึ้นมา ในการที่เราสามารถรักษาอาการได้บ่อยครั้ง แต่เราเพิกเฉยสาเหตุเหล่านั้นไป ถ้าเขาได้หวังว่า ทำไมเราถึงไม่เปลี่ยนบริบทที่อยู่อาศัยของคนจนเหล่านั้นล่ะ หรือย้อนกลับไปที่การเปรียบเทียบเรื่องคอมพิวเตอร์ ทำไมยังคงให้คนที่ไม่ชำนาญการมาทำงานล่ะ ก็เมื่อไรก็ตามที่เราสามารถแก้ไขปัญหาโดยการติดตั้งความทรงจำเพิ่มเติมไปแทน แล้วตรงจุดนั้นแหละ ที่ศาสตราจารย์ Eldar Shafir ได้ตอบโต้ระหว่างสนทนากันและดูเหมือนเป็นสายตาที่ว่างเปล่าเอามาก ๆ แต่หลังจากนั้นต่อมาไม่กี่วินาทีก็ได้อุทานขึ้นมาว่า “โอ๊ะ เข้าใจแล้ว”.
คุณอาจจะหมายถึงการที่คุณแค่หยิบเงินให้คนที่ยากจนเหล่านั้น เพื่อขจัดความยากจนเหล่านั้นให้สิ้นซากไป แน่นอนเลย มันเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมไปเลยล่ะ แต่เขากลัวว่าสัญลักษณ์ของการเมืองฝ่ายซ้าย ก็คุณกำลังอยู่ใน Amsterdam มันไม่ได้อยู่ในรัฐด้วยซ้ำไป แต่มันจะมีจริง ๆ เหรอความหัวโบราณของฝ่ายซ้ายจัด เขาจำได้แม่นเลยว่า ได้อ่านสิ่งที่เกี่ยวกับแผนการอันเก่าแก่ ที่บางคนนั้นได้ตั้งใจสร้างเอาไว้อย่างดีแล้ว โดยผู้นำทางด้านความคิดในสมัยก่อน ซึ่งเป็นนักปรัชญาที่ชื่อว่า Thomas More ได้ให้คำใบในหนังสือที่ชื่อว่า Utopia ซึ่งผ่านมาแล้วมากกว่า 500 ปี คนที่ปรากฏตัวเพื่อที่ประเมินอิทธิพลจากซ้ายไปขวา จากการเคลื่อนไหวของสิทธิมนุษยชาติที่ชื่อว่า Martin Luther King Jr. ต่อไปยังนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Milton Friedman.
แล้วมันก็มีความคิดง่าย ๆ ที่น่าทึ่งอยู่คือ.
Basic Income Guarantee (รายได้พื้นฐานที่ยืนยันว่าจะได้รับ)
แล้วมันคืออะไรล่ะ มันเป็นสิ่งที่ง่ายมาก ๆ ก็เพราะมันคือ ทุนรายเดือนที่เพียงพอในการใช้จ่ายต่อความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหาร ที่พักอาศัย และการศึกษา ซึ่งจะปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น แล้วจะไม่มีใครที่จะมาบอกกับคุณว่า ให้คุณทำอะไรเพื่อมันอีก และจะไม่มีใครมาบอกกับคุณว่า ให้คุณทำอะไรกับมันอีก รายได้พื้นฐานนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องมี แต่มันเป็นสิทธิอันชอบธรรม ซึ่งมันจะไม่มีมลทินอะไรติดไปกับรายได้นั้นเลย การที่เขาเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของความยากจนได้นั้น เขาไม่สามารถหยุดหวังได้เลย นี่คือไอเดียที่เราทุกคนรอคอยกันอยู่ใช่ไหมล่ะ มันคือสิ่งที่สามารถเป็นไปได้.
เป็นเวลา 3 ปีที่เขาได้ติดตาม และอ่านทุกเรื่องเกี่ยวกับรายได้พื้นฐาน เขาได้ทำการวิจัยมามากกว่า 12 การทดสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการดำเนินงานทั้งหมดทั่วโลก และมันไม่ได้กินเวลานานเท่าไร เท่ากับการที่เขาได้สะดุดเข้ากับเรื่องหนึ่งในเมืองแห่งหนึ่ง แล้วมันทำให้เขาเห็นว่า มันสามารถทำให้ความยากจนนั้นสิ้นซากลงไปได้ แต่ต่อมาหลังจากนั้นเกือบทุกคนในเมืองก็ลืมเลือนกันไป.
Act 2. The town with no poverty (เมืองที่ไม่มีความยากจน)
เรื่องนี้เกิดขึ้นที่เมือง Dauphin, Canada ในปี 1974 ทุกคนในเมืองเล็ก ๆ แห่งนี้ได้รับการยืนยันว่า จะมีรายได้เข้ามาอย่างแน่นอน เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครตกต่ำกว่าเส้นความยากจนได้แน่นอน แล้วจุดที่เริ่มต้นของการทดสอบนั้น คือนักวิจัยของกลุ่มทหารที่อาศัยในเมืองนั้นอยู่แล้วด้วย เวลาล่วงเลยผ่านไปเป็นเวลา 4 ปี ทุกอย่างก็ดูราบรื่นดี แต่หลังจากนั้นต่อมารัฐบาลชุดใหม่ก็ได้ใช้อำนาจ และคณะรัฐมนตรีก็ได้เล็งเห็น จุดเล็ก ๆ ของความฟุ่มเฟือยในการทดสอบนี้ ก็เมื่อไรก็ตามที่ทุกอย่างมันชัดเจนว่า ไม่มีเงินเหลือพอที่จะวิเคราะห์บทสรุปต่อไปได้แล้ว นักวิจัยจึงตัดสินใจเก็บข้อมูลและแบ่งเอกสารออกเป็นจำนวน 2,000 กล่อง.
25 ปีผ่านพ้นไป แล้วหลังจากนั้นต่อมาก็มีศาสตราจารย์ที่ชื่อว่า Evelyn Forget พบข้อมูลที่อยู่ในกล่องเหล่านั้นและใช้เวลาร่วม 3 ปี ในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในการวิเคราะห์สถิติเหล่านั้น แล้วไม่ว่าจะทดสอบบ่อยแค่ไหน ผลลัพธ์ก็ออกมาแบบเดิมเสมอ ซึ่งการทดสอบนี้ก็เลยเป็นความสำเร็จที่ดังก้องอย่างสวยงาม ต่อมา Evelyn Forget ก็ได้ทำการค้นคว้าว่า ไม่เพียงแต่คนในเมือง Dauphin, Canada จะมีฐานะที่ร่ำรวยขึ้น แต่ทุกคนจะฉลาดขึ้น รวมถึงมีสุขภาพที่แข็งแรงตามไปด้วย.
ประสิทธิภาพของเด็กในโรงเรียน จะมีพัฒนาการขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลลดลงอย่างมากถึง 8.5% รวมถึงความรุนแรงในเมืองก็ลดลงอย่างมากเช่นเดียวกัน และปัญหาสุขภาพจิตก็น้อยลงด้วย คนที่ลาออกจากงานก็แทบไม่มี รวมถึงเฉพาะคนที่ทำงานน้อย ๆ คือแม่มือใหม่และพวกนักเรียน ก็ส่งผลทำให้มีเวลาอยู่ในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันถูกพบตั้งแต่ที่ทุกคนทำการทดสอบไปทั่วโลกตั้งแต่ประเทศ US ไปจนถึง India.
แล้วนี่คือสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มา เมื่อไรก็ตามที่เราพบเจอความยากจน พวกเราคนที่ร่ำรวย ควรจะหยุดที่จะแสร้งทำเป็นเหมือนเรารู้ดีที่สุด เราควรหยุดที่จะส่งรองเท้า และตุ๊กตาหมีไปให้คนยากจนที่เราไม่เคยพบเจอเขาได้แล้ว แต่เราควรจะจัดการให้หมดไป กับความหลากหลายของอุตสาหกรรมข้าราชการที่ถูกปกครองโดยอำนาจบิดาโดยส่วนเดียว ก็เมื่อเราสามารถมอบรายได้ให้กับพวกเขาอย่างง่ายดาย สำหรับคนยากจนที่มีความต้องการให้ได้รับความช่วยเหลือนั้น.
เพราะการที่เขาคิดถึงความยอดเยี่ยมในการใช้เงินว่า ก็เงินมันไว้ใช้สำหรับสิ่งที่พวกเขาต้องการที่จะซื้อในสิ่งที่พวกเขาต้องการก็แค่นั้น แทนที่เราจะแต่งตั้งตัวเองเป็นผู้เก่งกาจทางด้านความต้องการ ลองจินตนาการดูว่า มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากแค่ไหน และผู้ประกอบการ รวมถึงนักเขียน ดังเช่น George Orwell ที่แห้งเหี่ยวเฉาไปกับความขาดแคลน แล้วลองคิดตามว่า พลังงานเท่าไรและพรสวรรค์เพียงใด ที่เราสามารถปลดปล่อยในสิ่งที่เราสามารถจัดการให้ความยากจนนั้นหมดไปภายในครั้งเดียว และมีผลตลอดไปด้วย.
Basic income is venture capital for the people (รายได้พื้นฐานนั้น คือการระดมทุนให้กับผู้คน)
เขาเชื่อว่า ถ้ารายได้พื้นฐานนั้นจะสามารถทำงานได้เหมือนกับการระดมทุนให้กับผู้คน และเราไม่สามารถที่จะจ่ายเพื่อไม่ให้มันเป็นไปได้เลย ก็เพราะความยากจนนั้นคือความแพงอันยิ่งใหญ่ ให้ลองดูไปที่ค่าใช้จ่ายกับเด็กที่ยากจนในประเทศ US ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายถูกประเมินเป็นจำนวน 500 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยเงื่อนไขของ ค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับการดูแลสุขภาพ จำนวนการออกจากสถานศึกษาที่สูงลิ่ว และจำนวนอาชญากรรม แล้วนี่คือเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของศักยภาพมนุษย์เลยก็ว่าได้.
ทว่า มาพูดถึงสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กันดีกว่า การจะให้รายได้พื้นฐานเราควรให้เป็นจำนวนเท่าไรดีล่ะ จริง ๆ แล้วมันเล็กน้อยกว่าสิ่งที่คุณคิดเอาไว้มาก สิ่งที่เมือง Dauphin, Canada ได้ทำไปนั้น คือการจัดการเงินเข้าด้วยการลบกับภาษีรายได้ มันหมายถึงว่าถ้าคุณมีรายได้ที่สูงขึ้น หลังจากนั้นคุณจะร่วงลงมาต่ำกว่าเส้นความยากจน แล้วในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ ตามผู้คนที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ได้ประเมินอย่างดีเยี่ยมแล้ว อยู่ที่จำนวนเงินทั้งหมด 175 พันล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับจำนวนเงินค่าใช้จ่ายต่อ 1 ไตรมาสของ US military แล้วเป็น 1% ของ GDP ซึ่งคุณสามารถยกระดับความขัดสนของคนอเมริกันให้สูงว่าเส้นความยกจนได้แล้ว.
กระนั้น คุณก็สามารถขจัดความยากจนไปได้อย่างสิ้นเชิงด้วย แล้วนี่คือเป้าหมายของเราทุกคน มันเป็นช่วงเวลาของความคิดเล็ก ๆ และการกระตุ้นเพียงนิดเดียวจากอดีตที่ผ่านพ้นมา เขาเชื่อว่าเวลาที่ผ่านมานั้นมันจะกลายมาเป็นความคิดที่รุนแรงยิ่งขึ้น และรายได้พื้นฐานนั่นแหละจะเป็นอะไรที่ดีมากกว่านโยบายอื่น ๆ ด้วยซ้ำไป มันคือสิ่งที่ควรคิดทวนซ้ำไปว่า อะไรที่มันจะได้ผลอย่างแท้จริง แล้วมันไม่ใช่เพียงแค่มอบอิสรภาพให้กับคนที่ยากจนเท่านั้น แต่มันรวมถึงเราทุกคนด้วยเช่นกัน.
ทุกวันนี้คนมากกว่าล้านคนรู้สึกว่า การงานที่พวกเขากำลังทำอยู่มีความหมายอันเล็กน้อย หรือมีความสำคัญต่อเขาเพียงนิดเดียว ก็ผลสำรวจล่าสุดที่ให้ลูกจ้างกว่า 230,000 คน จำนวนมากกว่า 142 ประเทศ ได้ทำการสำรวจพบว่า มีเฉพาะ 13% ของคนที่ทำงานรู้สึกว่าชื่นชอบอาชีพที่เขาทำอยู่จริง ๆ และอีกผลสำรวจนึงพบว่า มีมากกว่า 37% ของคนทำงานชาวอังกฤษคิดว่า งานที่เขาทำอยู่ตอนนี้ ไม่ต้องการให้มันดำรงอยู่อีกต่อไป ดังเช่น นักแสดงที่ชื่อว่า Brad Pitt ได้พูดในหนังเรื่อง Fight Club ว่า “บ่อยครั้งที่เราจะพบว่า งานที่เราเกลียดคืองานที่เราสามารถซื้อสิ่งที่เราไม่ได้ต้องการมันจริง ๆ”.
เขาจะสื่อว่า เขาไม่ได้จะมาพูดถึงเกี่ยวกับครูสอน คนเก็บขยะ และนักสังคมสงเคราะห์ในที่นี่นะ แต่ถ้าเขาไม่ทำงานเหล่านั้น เราจะเกิดปัญหาอย่างหนักหน่วง เขากำลังพูดถึงเกี่ยวกับทุก ๆ รายได้ชั้นเยี่ยมของเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่มีเรซูเม่ชั้นเลิศ ที่พวกเขากำลังได้รับเงินจากการทำงาน เกี่ยวกับกลยุทธ์การซื้อขายในการประชุมเครือข่าย ขณะเดียวกันนั้นก็กำลังระดมความคิดเกี่ยวกับมูลค่า ที่เพิ่มไปยังการทำลายของสิ่งที่ร่วมสร้างกันมาในระบบเครือข่ายสังคม หรือว่าคล้าย ๆ กับสิ่งเหล่านี้.
ลองคิดดูอีกครั้งว่า มีพรสวรรค์มากเพียงใดแล้ว ที่เราสูญเสียไปกับคำง่าย ๆ เพียงคำเดียว เพียงเพราะว่าเรามักจะพูดกับเด็ก ๆ เสมอว่า พวกเขาจะต้องมีชีวิตอยู่ “เพื่อหาเงิน” หรือว่าลองคิดดูว่า คนที่เป็นผู้ประสบความสำเร็จสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่ทำงาน ณ เฟซบุ๊ก มีอะไรบ้างที่จะรู้สึกเสียใจเมื่อมองย้อนกลับไป “ความคิดที่ยอดเยี่ยมในยุคสมัยของฉัน คือการที่ใช้เวลาขบคิดตลอดเวลาเกี่ยวกับการจะทำอย่างไรให้ผู้คนมาคลิกโฆษณา” เขาเป็นนักประวัติศาสตร์ และถ้าประวัติศาสตร์กำลังสอนอะไรบางอย่างกับเรา เกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถทำให้มันแตกต่างได้ ก็มันไม่มีอะไรที่เราจะหลีกเลี่ยงได้เลยเกี่ยวกับหนทางสู่การสร้างรูปแบบของสังคม และรูปแบบของเศรษฐกิจใน ณ ตอนนี้.
ความคิดสามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ และเขาได้คิดมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ มันทำให้เขาได้กลายมาเป็นคนที่มีความชัดแจ้งมากยิ่งขึ้นว่า เราจะไม่ยอมอยู่กับค่านิยมเดิม ๆ เราทุกคนต้องการความคิดใหม่ ๆ เขารู้ว่ามีหลายคนรู้สึกได้ถึงการมองโลกในแง่ร้าย เกี่ยวกับอนาคตที่ความเหลื่อมล้ำถูกอุบัติขึ้น เช่น โรค Xenophobia และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ แต่เราไม่มีทางจะพอได้เลย ที่เราจะรู้ว่าเรากำลังต่อต้านกับอะไร เราต้องการที่จะเป็นเพื่อบางสิ่งบางอย่าง.
ดังเช่น Martin Luther King Jr. ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ฉันได้ฝันร้าย” แต่กลับพูดว่า ฉันมีความฝัน แล้วนี่คือความฝันของเขา เขาเชื่อว่าในอนาคต การงานจะไม่ถูกกำหนดค่าขึ้นมาจากจำนวนรายได้ที่เราได้รับ แต่จะมาจากจำนวนความสุขที่ได้แผ่ซ่านออกไป รวมถึงจำนวนความหมายที่คุณได้มอบให้ไปด้วย เขาเชื่อว่าในอนาคต จุดที่สำคัญของการศึกษาจะไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อไปทำงานอันไร้ความหมาย แต่จะไปเพื่อการใช้ชีวิตอย่างสุขสมบูรณ์ เขาเชื่อว่าในอนาคต การใช้ชีวิตอยู่โดยปราศจากความยากจนจะไม่ใช่สิทธิพิเศษอีกต่อไป แต่มันจะเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่เราทุกคนควรได้รับมัน.
แล้วตอนนี้เรามีทั้งข้อมูลวิจัย หลักฐาน และมีเครื่องมือที่พรั่งพร้อม ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็ล่วงเลยไปมากกว่า 500 ปีแล้วหลังจากที่ Thomas More ได้เขียนเกี่ยวกับรายได้พื้นฐานไว้ และกว่า 100 ปีแล้วหลังจากที่ George Orwell ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติของความยากจนไว้ เราทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงการมองโลกไปอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าความยากจนไม่ใช่ความขาดแคลนตัวตน แต่เป็นความขาดแคลนเงินมากกว่า.
รายได้พื้นฐานจะช่วยขจัดความยากจนให้สูญสิ้นไปได้ แถมจะทำให้สังคมสมดุลมากยิ่งขึ้น
Rutger Bregman