พลังของการอยู่กับตัวเอง

พลังของการอยู่กับตัวเอง

ความคิดเห็นต่อการบรรยาย

เมื่อตอน Cain อายุ 9 ขวบ แม่ได้ใส่หนังสือลงไปในกระเป๋าแคมป์ภาคฤดูร้อนของเธอ มันเป็นเรื่องปกติของครอบครัวอยู่แล้วที่จะอ่านหนังสือกันในทุกกิจกรรมที่ไปเที่ยว ซึ่งการไปแคมป์มันก็ต้องมีกิจกรรมนันทนาการเพื่อจะได้เล่นกันอยู่ดี ซึ่งตอนที่เธอได้เต้นและร้องเพลง เธอกลับไม่รู้สึกว่านี่คือฉันกำลังเกเรอยู่จริง ๆ ก็เพราะมันดูขัดกับตัวเธอเองที่เป็นคนดูเรียบร้อย.

ในหลายครั้งที่เธอก็รู้สึกว่าการจะเป็นคนที่อยู่กับตัวเองนั้นค่อนข้างดูเหมือนทำให้เธอยิ่งห่างออกไป ซึ่งการอยู่กับผู้อื่นอาจจะเป็นคำตอบก็ได้ มันมีอยู่วันหนึ่งซึ่งเธอก็ได้ไปเจอเพื่อนแล้วเธอก็รู้สึกว่ามันไม่เป็นตัวของตัวเอง มันเป็นโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องไปทำอะไรเลย แต่ทว่า การที่เป็นแบบนี้อาจจะถูกตัดขาดกับโลกภายนอก กับผู้คน รวมถึงตัดขาดกับสิ่งต่าง ๆ ไปโดยปริยาย.

แต่ความจริงแล้วทุกบริบทของชีวิตจะต้องประกอบเข้ากับการอยู่กับตัวเองเสมอ เพราะว่าโลกนี้ประกอบด้วยคนจำนวนสามส่วนจากครึ่งหนึ่งในประชากรทั้งหมดที่เป็นคนอยู่กับตัวเอง มันอยู่ในคนที่คุณรู้จักอย่างแน่นอน.

คนส่วนใหญ่มักจะมีมุมมองลำเอียงเกี่ยวกับการที่อยู่กับตัวเอง ก็เพราะพวกเขาคิดว่าการที่อยู่กับตัวเองคือคนที่ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นไม่ได้หรือว่ามีปัญหาในชีวิตบ้าง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเพราะความหมายของการอยู่กับตัวเองก็คือเป็นคนที่ชอบขบคิดคนเดียว ไม่ชอบสุงสิงกับคนอื่นมากนักเพราะมันทำให้รู้สึกว่าพลังในชีวิตเริ่มถดถอยไป ซึ่งแตกต่างกับคนที่อยู่กับผู้อื่นที่รู้สึกมีพลังมากขึ้นเวลาอยู่ร่วมกับผู้คนมากมาย.

แม้กระทั่งในห้องเรียนที่ในยุคนี้จะเน้นการเรียนแบบจับกลุ่มกัน นั่งหันหน้าเข้าหากัน มันก็ดีในอีกรูปแบบหนึ่งแต่ถ้ามองอีกมุมอาจจะทำให้คนที่ชอบอยู่กับตัวเองไม่ได้แสดงศักยภาพได้เต็มร้อย และคนที่ทำงานคนเดียวก็มักจะถูกมองว่าเป็นเด็กมีปัญหาด้วย รวมถึงผลคะแนนของเด็กที่ชอบอยู่กับตัวเองก็มีคะแนนที่ดีกว่าคนที่ชอบอยู่กับผู้อื่น.

Adam Grant ได้อธิบายถึงคนที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำได้จะต้องประกอบด้วยการเป็นคนที่อยู่กับตัวเองเป็น ไม่ใช่ว่าคนที่อยู่กับคนอื่นจะไม่ดีเท่า แต่ถ้าเทียบแล้วคนที่อยู่กับตัวเองได้นั้นจะหมายถึง ทุกเวลาที่มีปัญหาเขาสามารถหาทางออกได้เร็วกว่า เพราะมีการขบคิดมากกว่านั่นเอง ยกตัวอย่างคนที่มักจะอยู่กับตัวเองคือ Eleanor Roosevelt, Rosa Parks, Gandhi คนเหล่านี้คือคนที่ค่อนข้างเงียบ พูดจาแบบอ่อนโยนและขี้อายด้วย.

สิ่งที่เธอเล่ามาทั้งหมดมันดูเหมือนว่าเธอค่อนข้างจะฝักใฝ่ในการอยู่กับตัวเอง และชอบอยู่คนเดียวนั่นก็ถือว่าไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ความเป็นจริงคือเพื่อนสนิทของเธอก็เป็นคนที่ชอบอยู่กับคนอื่นและรวมถึงสามีของเธอก็เช่นกัน พูดถึงการที่ชอบอยู่กับตัวเองและชอบอยู่กับคนอื่นก็ยังมีคนที่ชอบทั้งสองอย่างนั่นเรียกว่าก้ำกึ่ง คนที่ก้ำกึ่งจะอยู่ได้ดีเยี่ยมทั้งสองแบบ.

การวิวัฒนาการของยุคสมัยนั้นได้เริ่มต้นจากคนที่อยู่กับตัวเอง ได้ใช้เวลากับตัวเองเพื่อค้นหาสัจธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจที่ต้องใช้เวลาค้นหาไอเดียเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้อุบัติขึ้นมาบนโลกใบนี้ แม้ทุกศาสนาก็ล้วนแต่ไปแสวงหาความจริงเพื่อมาโปรดสอนผู้คนในสังคมว่าความจริงเป็นแบบนั้นแบบนี้ มันคือการที่เราต้องใช้ประโยชน์จากการอยู่กับตัวเองให้เป็นให้ได้.

คำถามที่เราควรถามคือ “การที่อยู่กับตัวเองจำเป็นต้องรู้สึกผิดไหม เป็นสิ่งนี้ถือว่าเป็นปกติแล้วหรือเปล่า” สังคมนั้นถูกหล่อหลอมให้เป็นคนที่ต้องอยู่กับผู้อื่นก็เพราะมันเห็นความชัดเจนมากกว่าการที่เรานั่งขบคิดอยู่คนเดียว มันไม่มีอะไรแสดงออกถึงการกระทำใด ๆ เลย มันเหมือนกับคุณไม่ได้ทำอะไรเสียด้วยซ้ำ รวมถึงหนังสือพัฒนาตนเองในยุคก่อนก็จะเป็นเน้นที่บุคลิกภาพ แต่ปัจจุบันนี้วัฒนธรรมได้เปลี่ยนไปมากพอสมควรและชื่อหนังสือก็จะเป็นแนวของการอยู่ร่วมกับผู้คนมากยิ่งขึ้น มันทำให้คุณสามารถปรับตัวได้ดีมากยิ่งขึ้นท่ามกลางความวุ่นวาย.

เธอเน้นย้ำว่านี่ไม่ใช่การยุติการให้เข้าร่วมกลุ่ม หรือให้หันมาอยู่กับตัวเองจนไม่สนใจสิ่งรอบข้าง แต่มันคือการที่เราทุกคนต้องอยู่คนเดียวเพื่อแสวงหาบางสิ่งในชีวิต เธอมีความเชื่อว่าการจะแก้ปัญหาในทุกภาคส่วนได้ต้องร่วมด้วยช่วยกันคือมีทั้งคนที่ชอบอยู่กับตัวเองและคนที่ชอบอยู่กับผู้อื่น เพื่อจะได้มีความแปลกและแตกต่างอยู่ในนั้นด้วย.

เธอได้เปิดหนังสือในกระเป๋าของเธอทั้งหมด 3 เล่ม ทั้งหมดนั้นคือนักเขียนที่ปู่ของเธอชื่นชอบ.

1. Cat’s Eye – Margaret Atwood

2. The Book of Laughter and Forgetting – Milan Kundera

3. The Guide for the Perplexed – Maimonides

ปู่ของเธอชื่นชอบการอ่านหนังสือมากนั่นคือการที่ทำให้ปู่ของเธอเป็นนักเทศน์ที่ดี ปู่ของเธอเป็น Rabbi คือคนที่เทศน์สอนในศาสนายิว ทุกครั้งปู่ของเธอจะหยุดการเทศน์ก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เพราะรู้สึกไม่อยากให้ทุกคนเลยเวลาการเทศน์ไป นี่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนโยนที่มีต่อผู้คนด้วย.

การฝึกซ้อมการพูดบนเวทีของเธอไม่ใช่เรื่องที่เธอถนัดสักเท่าไร ก็เพราะเธอเป็นคนที่ชอบอยู่กับตัวเองมาก ยิ่งเจอผู้คนมากมายขนาดนี้ก็คงเป็นเรื่องที่ทำให้ตื่นเต้นมาก ๆ เธอจะบอกถึงวิสัยทัศน์ต่อผู้คนในสังคมว่าควรปรับปรุงอย่างไร.

สามสิ่งไปสู่การกระทำ (Threes call to actions)

1. หยุดบ้ากับการทำงานเป็นทีม (Stop the madness for constant group work)

เธอจะสื่อว่าไม่จำเป็นต้องทำงานเป็นทีมในทุกบริบทของการทำงานก็ได้ ให้พื้นที่สำหรับคนที่ชอบอยู่กับตัวเองบ้าง เพิ่มพื้นที่ให้กับคนที่อยู่กับตัวเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งมันจะเป็นสิ่งที่ดีต่อคนที่อยู่กับคนอื่นมากยิ่งขึ้นด้วย รวมถึงในโรงเรียนที่เราจะต้องคำนึงถึงการที่สอนตัวต่อตัวมากขึ้น อย่างน้อยก็ให้คนที่ชอบอยู่กับคนอื่นได้เกิดกระบวนการความคิดอย่างลึกซึ้งด้วย.

2. ออกแสวงหาสัจธรรมเหมือนพระพุทธเจ้า คุณต้องเปิดเผยมันด้วยตัวเองคุณเอง (Go to the wilderness be like Buddha, have your own revelations)

เธอไม่ได้จะสื่อว่าให้ทุกคนไปสร้างบ้านในป่าด้วยตัวเอง แล้วเราก็ไม่ต้องพบเจอกันอีก แต่เธอมุ่งเน้นไปที่ถอดปลั๊กและดึงส่วนที่สำคัญในสมองออกมา.

3. นำสิ่งที่ดีใส่เข้าไปในกระเป๋าเดินทางของคุณด้วย และทำไมคุณถึงต้องใส่มันลงไป (Take a good look at what’s inside your own suitcase and why you put it there)

ไม่ว่าคุณจะใส่อะไรลงไป เช่น หนังสือ แชมเปญ หรืออะไรก็แล้วแต่คุณจงมั่นใจว่าสิ่งที่คุณใส่มันลงไปมันจะสามารถช่วยให้คนอื่นได้อะไรไปไม่มากก็น้อย มีความกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองถ้าคุณเป็นคนชอบอยู่กับตัวเอง มันดีแล้วที่คุณจะพูดอย่างนุ่มนวลแบบนั้น.

การอยู่กับตัวเองเป็นคือคนที่จะดึงศักยภาพทางความคิดได้ดีเยี่ยม

Susan Cain

สามารถซื้อหนังสือได้ที่

Amazon