เพื่อนปรึกษา ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ

เพจ เพื่อนปรึกษา

ทำไมถึง ‘เพื่อนปรึกษา’

จุดเริ่มต้นของเพจนี้มาจากการที่ตั้งคำถามในชีวิตว่า “ถ้าเรามีที่ปรึกษาปัญหาชีวิต ก็คงจะดีเนอะ” จากการตั้งคำถามกลายมาเป็นการค้นหาคำตอบที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต จึงเริ่มเปิดเพจที่ให้ทุกเพศทุกวัย รวมถึงทุกปัญหาชีวิตที่พานพบมาในแต่ละคน ที่ล้วนแต่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องราวและประสบการณ์ อันหมายถึงการร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของเพื่อนทุกคน โดยการที่ผมจะเป็นคนรับฟังปัญหานั้น ๆ ให้คำปรึกษานั้น ๆ โดยมองภาพรวม เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงประเด็นที่สุด ทั้งนี้ผมไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้โดยลำพัง เพียงแต่เป็นสายใยที่คอยสานสัมพันธ์กับคนในสังคมให้มีความคิดที่ดี และจิตใจที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป.

ปัญหาทางจิตใจในปัจจุบัน

ปัญหาทางจิตใจ 10 อันดับแรก (ทั้งหมดมี 48 อันดับ สามารถดูได้ที่ลิงก์) ที่มีนักเรียนได้รับเข้ารักษาที่คลินิกในปี 2018-2019 เป็นอันดับที่ 1 ได้แก่ โรควิตกกังวล (Anxiety) 23.5% อันดับที่ 2 ได้แก่ โรคซึมเศร้า (Depression) 18.9% อันดับที่ 3 ได้แก่ ปัญหาในความสัมพันธ์ (เฉพาะเจาะจง) [Relationship problem (Specific)] 7.3% อันดับที่ 4 ได้แก่ โรคเครียด (Stress) 5.9% อันดับที่ 5 ได้แก่ ปัญหาทางครอบครัว (Family) 4.1% อันดับที่ 6 ได้แก่ ปัญหาบาดแผลทางจิตใจ (Trauma) 3.6% อันดับที่ 7 ได้แก่ ความทุกข์และความสูญเสีย (Grief/loss) 3.2% อันดับที่ 8 ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการตนเอง (Interpersonal functioning) 3.1% อันดับที่ 9 ได้แก่ ปัญหาการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ (Adjustment to new environment) 3% และอันดับที่ 10 ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิผลทางการศึกษา (Academic performance) 2.9%.

จากข้อมูลสถิติข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันนี้ได้มีนักเรียนที่เข้ารับการรักษา เพราะโรควิตกกังวลสูงที่สุด รองลงมาก็คือโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลารักษากันยืนยาวพอสมควร ไม่สามารถทานยา หรือว่ารักษาจากภายนอกได้โดยส่วนเดียว ซึ่งการรับฟังปัญหาเป็นส่วนช่วยได้มากที่สุด เพื่อให้เติมเต็มกับบุคคลที่สูญเสียไป เพจเพื่อนปรึกษาจึงได้สร้างขึ้นมาด้วยประการฉะนี้.

เป้าหมาย

เสริมสร้างคุณสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ความคิด จิตใจ สติปัญญา และความสุข ด้วยการเขียนบทความที่ก่อเกิดสาระและนานาประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมะ จิตวิทยา หรือหนังสือที่ได้ให้แง่คิดที่เปิดกว้าง รวมถึงการชี้แนะและพัฒนาบุคคลในสังคมให้มีวิสัยทัศน์ มโนทัศน์ และทัศนะอื่น ๆ ร่วมด้วย.

การมุ่งเน้นไปในคนที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ว่า บุคคลนั้นได้มีประสบการณ์เพียงใด เพื่อจะเจาะจงให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยไม่ชี้แนะโดยส่วนเดียวว่า จะให้ไปทำสิ่งใด หรือไม่ให้ทำสิ่งใด แต่จะเป็นการชี้แนะให้เกิดกระบวนการของวิจารณญาณโดยสมบูรณ์ และเกิดกระบวนการความคิดที่แยบคาย ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการตกผลึกในแต่ละเรื่อง ซึ่งผู้ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ จะได้นำคำตอบเหล่านั้นไปขบคิดต่อยอดไปด้วย.

สุดท้ายนี้การตระหนักรู้จะสัมฤทธิ์ผลได้ ก็เนื่องด้วยผู้ที่เข้ามาแบ่งปันประสบการณ์ ได้พินิจพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ด้วยการนึกถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดเพียงประการเดียวคือ ตัวผู้แบ่งปันประสบการณ์เองว่า จะนำสิ่งใดกลับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้บ้าง เพราะถึงแม้ปัญหาจะหลากหลาย แต่สิ่งที่แก้ไขได้ดีที่สุดก็คือ ‘ใจ’ ของตัวเราเอง.

ข้อมูล

ชื่อเพจ:เพื่อนปรึกษา
สามารถปรึกษาได้ที่:Facebook Messenger orForm